วันพุธที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2553

การเตรียมพร้อมก่อนให้กำเนิด

การตั้งครรภ์ เป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ ร่างกายคุณเริ่มเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และกำลังปรับสมดุลครั้งใหม่ จุดประสงค์ของการเตรียมพร้อมก่อนให้กำเนิด คือเพื่อสำรวจการเปลี่ยนสมดุลของร่างกาย โปรดศึกษาข้อมูลในบทเกี่ยวกับสิทธิต่าง ๆ เพื่อความสะดวกในการติดต่อกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สำหรับข้อบังคับ และประโยชน์อื่น ๆ ที่พึงได้รับ

การพบแพทย์มีจุดประสงค์เพื่อ
-ดูแลสุขภาพของคุณและทารก
-ควบคุมวิวิัฒนาการของการตั้งครรภ์
-ประเมินภาวะการคลอดเมื่อใกล้ถึงกำหนด

หลังจากพูดคัยกับแพทย์แล้ว จะมีการตรวจต่าง ๆ
การตรวจโดยสูตินรีแพทย์
สูตินรีแพทย์จะใช้ "เครื่องตรวจวัดภายในร่างกาย" อาทิตรวจช่องคลอดว่าปากมดลูกยึดหยุ่น และยาวขึ้นหรือไม่ ซึ่งเป็นเครื่องแสดงว่ามีทารกอยู่ในท้องคุณ

การตรวดเลือด
เมื่อพบแพทย์ครั้งแรก แพทย์จะสั่งตรวจเลือด ห้องปฏิบัติการจะตรวจเลือดและวิเคราะห์กรุ๊ปเลือด ถ้ากลุ่มเลือดของแม่เป็น Rh negative หรือ Rh- และกลุ่มเลือดของพ่อเป็น Rh positive หรือ Rh + ก็สามารถผลิตภูมิคุ้มกันให้กับทารกได้ ดังนั้นต้องตรวจภาวะภูมิคุ้มกันของร่างกายอย่างละเอียด ตลอดช่วงตั้งครรภ์

การตรวจโดยทั่วไป
แพทย์จะตรวจวัดความดันโลหิต ลูบคลำท้อง ฟังจังหวะการเต้นของหัวใจ และให้ช่างน้ำหนักเริ่มต้น คะณจะพัฒนาเพิ่มขึ้นตามที่จำเป็นต่อการมีสุขภาพแข็งแรงของทารก โดยทั่วไป หญิงตั้งครรภ์จะมีน้ำหนักตังเพิ่มประมาณ 10 กิโลกรัม

เด็กจะเกิดเมื่อไหร่
เมื่อคำนวณวันคลอดตามทฤษฏี ให้นับจากวันแรกที่ประจำเดือนไม่มาไปอีก 40-41 สัปดาห์

วันอังคารที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ติ่งเนื่อสีน้ำตาล-ดำ

ติ่งเนื่อสี่น้ำตาล-ดำ
มักเกิดขั้นที่คอ รักแร้ อันนี้หลังคลอดก็ไม่ยอมหายไปไหน การติดเชื้อราที่ผิวหนัง บริเวณที่มีการอับชื้้น เนื่องจากคนท้องมักขี้ร้อน เหงื่อออกง่าย จึงเกิดจุดอับชื้นบริเวณซอกพับที่สรีระ มีการเปลี่ยนแปลงไป เช่น ใต้ราวนม รักแร้ ขาหนีบ เป็นสาเหตุของการติดเชื้อราแคนดิดาได้ง่าย

สิว
เนืองจากอิทธิพลของฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงไประหว่างตั้งครรภ์ มีผลการทำงานของต่อมไขมัน ทำให้บางคนเกิดเป็นสิวเห่อขั้นที่หน้า และตัวได้ แต่กับบางคนที่ก่อนตั้งครรภ์ เป็นสิวง่าย พอตั้งครรภ์สิวก็หาย หน้าผ่องก็มี

รอยแตกลาย
เกิดขึ้นจากการยึดตัวของผิวหนังขณะตั้งครรภ์ มักพบที่บริเวณหน้าท้อง สะโพก ก้น หน้าอก ต้นขา อาจเป็นสีชมพู ม่วง หรือดำในคนผิวคล้ำ บางคนอาจมีอาการคันร่วมด้วย หลังคลอดอาจจางลงได้เล็กน้อย

วันจันทร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2553

โรคผื่นคัน

โรคผื่นคัน
ในคนท้องมีลักษณะเป็นผื่นลมพิษตุ่มแดงคัน ที่ไม่ได้เกิดจากการแพ้อาหาร หรือสารเคมีมักเป็นเมื่อครรภ์แก่ (3 เดือนก่อนคลอด) ผื่นคันนี้อาจลามกระจายทั้งตัวได้ แต่หลังคลอดผื่อก็จะค่อย ๆ จางหายไป

วันอาทิตย์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2553

รอยคล้ำ

รอยคล้ำ
จะสังเกตุได้ว่าบริเวณข้อพับของร่างกาย มีสีเข็มขึ้นตั้แต่รักแร้ ขาหนีบ ต้นขาด้านใน รวมถึงหัวนมและอวัยวะเพศ แต่ที่กลัวกันมากที่สุดคือมีฝ้าขึ้นที่หน้าโดยเฉพาะคนที่ถูกแสงแดดเป็นประจำ กระที่เป็นอยู่แล้วก็มักมีสีเข้ม และเพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างช้า ๆ ภายหลังคลอดได้


วันเสาร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ผิวของคุณแม่เปลี่ยนไป

ผิวของคุณแม่เปลี่ยนไป
ปัญหาผิว ๆ นับว่า ยังมีความสำคัญของทุกวัย ไม่ว่าจะเป็นวัยเด็ก วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ ต่างก็มีปัญหาผิวได้โดยเฉพาะผิวที่กำลังขยายตัวของผิวอย่างกับกลุ่มสตรีที่ตั้งครรภ์ที่ต้องมีผิวขยายตัว

เมื่อผู้หญิงเริ่มตั้งครรภ์จะมีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านสรีระและอารมณ์ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนหลายชนิด ผิวพรรณที่มีการเปลี่ยนแปลงไป มักก่อให้เกิดความกังวลใจกับคุณผู้หญิงไม่น้อย ดังนั้นเรามารับรู้ถึงภาวะปกติและไม่ปกติที่เกิดขึ้นกับผิวพรรณขณะตั้งครรภ์เพื่อจะได้รับมือกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นโดยไม่ต้องกังวลกันอีกต่อไป


วันศุกร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2553

เมื่อร่างกายคุณแม่เปลี่ยนไป

ปฏิกิริยาแรกที่จะเป็นแม่คืออะไร

ก็คือใช้เวลาอยู่หน้ากระจกนาน ๆ มองหน้า มองรูปร่างเดี๋ยวใกล้ เดี๋ยวไกล คุณอยากจะมีท้องกลม ๆ ต้องอดทนเพราะ ช่วงแรกคุณจะไม่เห็นอะไรชัดเจนได้เลย คุณคงไม่อย่างเห็นรูปร่างของคุณกลมขึ้นแม้ว่า ร่างกายจะต้องการอาหารเพื่อทำให้ไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิเจริญเติบโตจนเป็นทารกที่มีน้ำหนัก 3 กก.ในขณะที่ต้องปรับตัวอย่างต่อเนื่องกับการมีคนมาอาศัยอยู่ในร่างกาย จะทำให้ร่างการเริ่มเกิดการเปลี่ยนแปลงเมื่อแม่เริ่มตั้งครรภ์ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอาจเห็นชัดเจนยิ่งขั้น แต่อย่างไรก็ดีความเปลี่ยนแปลงนั้นยีนยันได้ว่่าทารกจะเติบโตและเกิดจากคุณ อย่างปลอดภัย
ร่างการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

กลไกหลักภายในร่างกาย ทำงานเร็วขึ้น เพราะอะไรน่ะหรือ ก็เพราะต้องให้พลังงานกับร่างกายมากขึ้น ข้อแรก คือ ให้อาหารแก่ทากรและ กำจัดของเสีย ข้อสอง คือ สร้างเนี้อเยื่อใหม่ให้กับเต้านมและรก

การไหลเวียนของเลือด
จะสูงขึ้น สามารถผลิตเลือดได้เพิ่มขึ้นถึง 40% มดลูกต้องการเลือดเพื่อรับ-ส่ง ระหว่างระบบร่างกายของทารก

หัวใจ
เต้นเร็วขึ้นไม่ได้หมายความว่าเกิดจากภาวะทางอารมณ์เสมอไป เหตุผลง่าย ๆ ก็คือหัวใจต้องจ่างเลือดปริมาณสูง ทำให้ชีพจรเต้นเพิ่มขึ้น 15 ครั้งต่อนาที

การหายใจ
เร็วขึ้นโดยปอดจะใช้ออกซิเจนมากขึ้นทุกครั้งที่หายใจ คุณจะต้องสูดอากาศเพิ่มขึ้น 10-15% คุณจะรู้สึกเหนื่อยง่ายโดยเฉพาะช่วงปลายของการตั้งครรภ์

ไต
ระบบของไตทำงานเพิ่มขึ้นโดยต้องกรองเลือดในบริมาณที่มากขึ้นกว่าเดิม

เต้มนมพร้อมให้น้ำนม
เดือนแรก : เต้านมหนังและบีบรัด จะเจ็บปวดมาก เป็นสัญญานทางร่างกายที่บ่งบอกถึงการตั้งครรภ์

เดือนที่สองถึงสาม : หัวนมยื่นออก ส่วนที่ยึ่นออกมานี้จะมีวงสีคล้ำรอบ หัวนม นั่นก็ืคือ ต่อมไขมันที่จะ สร้างไขมันให้กับหัวนมเพื่อให้น้ำนมทารกต่อไป

เดือนที่สี่ : เป็นช่วงที่เต้านมอาจหลั่งสารสีเหลืองออกมา อย่าปิดกั้นไม่ให้น้ำนมไหลออกมาเพราะนั้นคือ น้ำนมเหลือง ซึ่งเป็นหัวน้ำนมที่อุดมด้วยภูมิคุ้มกัน

เดือนที่ห้า : บางทีสีคล้ำรอบหัวนมอาจขยายวงสีน้ำตาลใหญ่ขึ้น และจะหายไปเองหลังคลอด

เดือนที่หกถึงเดือนที่แปด : ต่อมน้ำนมใหญ่ขึ้นเป็นทวีคูณ และหัวนมจะบวม หลอดเลือดดำเห็นชัดเจน การไหลเวียนของเลือดหนาแน่นขึ้น เพื่อให้สารอาหารกับส่วนของร่างกายทีใช้แรงเกิดผลกระทบคือ คุณจะรู้สึกปวดร้าว


วันพุธที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2553

พัฒนาการเจ้าตัวน้อยในครรภ์


ช่วง 1-3 เดือน
ตัวอ่อนจะเริ่มสร้างเนื้อเยื่อและอวัยวะ

10 วัน : ไข่กลายเป็นตัวอ่อนเริ่มมีการแบ่งเซลล์ออกเป็น 3 ส่วน แต่กต่างกันเพื่อสร้างอวัยวะต่าง ๆ ผม ระบบประสาท กระดูกอ่อน กระดูกกล้ามเนื้อ ระบบย่อยอาหาร และต่อมต่าง ๆขั้นมา

3 สัปดาห์ : หัวในเริ่มเต้น
ท่อขนาดเล็กถูกสร้างขั้นมาจากหลอดเลือด 2 เส้น มีบทบาทเป็นหัวใจเต้นเริ่มเห็นเป็นโครงศรีษะ ปอดเริ่มทำงาน และหนึ่งสัปดาห์หลังจากนั้น ตัวอ่อนจะเติบโตขึ้นมามีขนาดเท่าผลลูกเบอร์รี่ และน้ำหนักจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ระบบประสาทเริ่มเกิดขึ้นแต่ยังไม่มีอวัยวะอื่นปรากฏ


5 สัปดาห์ : ตัวอ่อนมีการเปลี่ยนแปลง
ตัวอ่อนจะมีลักษณะโค้งงอและเห็นโครงของร่างกาย อวัยวะทุกส่วนจะทำงานสัมพันธ์กัน ศรีษามีขนาดใหญ่ขึ้น มีเค้าโครงหน้า ดวงตากลม และดำ ในช่วงเวลานี้ตัวอ่อนจะมีน้ำหนักอยู่ 11 กรัม ยาวประมาณ 3 เซนติเมตร

ระวัง : ร่างกาย
ในช่วง 2 เดือนแรก ทารกจะเป็นผู้ที่ทำงานหนักเพราะมีการปรับเปลี่ยนและเปลี่ยนแปลงอย่างไม่หยุดยั้ง ทำให้ทารกรับรู้ได้ไว พึงระวังครรภ์ของคุณเพือปกป้องทารกก่อนวันที่จะมีประจำเดือน ทารกของคุณอาจจะมาถึงอย่างเงียบ ๆ แล้วก็ได้ในกรณ์ที่มีความกังวล ควรรักษาสุขอนามัย หลีกเลี่ยงของมืนเมา บุหรี่ ยา และการถ่ายเอ็กซเรย์
3 เดือน : ตัวอ่อนฟักตัวเสร็จ
สร้างผลงานชิ้นใหญ่สำเร็จแล้ว กล่าวคืออวัยวะต่าง ๆ เริ่มพัฒนาขึ้นกล้ามเนี้อขยายตัว กระดูกแข็งขึ้นมีภาพเค้ร่างปรากฏของสมอง และปฏิกิริยาต่าง ๆ เริ่มสั่งการเป็นระบบ ช่วงระยะ 3 เดือน ทารกมีลำตัวยาว 10 เซนติมตร และหนัก 45 กรัม ทารกกำลังผ่านขั้นตอนการเป็น "ตัวอ่อน" ในช่วงนี้ ทารกเริ่มมีผันเรียงแถว มีเล็บ ผมเริ่มขึ้น และทากรมักจะมี "ศรีษะโต"

ช่วง 4-6 เดือน : ตัวอ่อนมีการพัฒนาส่วนต่าง ๆ ในร่างกาย

4 เดือน : ตัวอ่อนก่อตัวเป็นรูปเป็นร่าง
4 เดือนตัวอ่อนเริ่มมีพัฒนาการเป็นทารกแล้ว อวัยวะทุกอย่างเริ่มทำงาน และมีพัฒนาการอย่างรวดเร็ว จึงต้องมีกำหนดเวลาว่า ทารกจะมีอัตราการเต้นของหัวใจ 140 ครั้งต่อนาที ศรีษะโตเกือบสมบูรณ์ มีผมขึ้น กระดูกอ่อนที่เชื่อมต่อกับเส้นขนอ่อน ๆ หรือ "ขนอ่อน" ที่ห่อหุ้มร่างการทารกน้อยจนกระทั่งถึงตอนคลอด
ชายหรือหญิงกันแน่
มรดกทางกรรมพันธุ์จากอสุจิ ซึ่งปฏิสนธิกับไข่จะเป็นตัวกำหนดว่าทารกเป็นเพศชาย หรือเพศหญิง รอจนถึงปลายเดือนที่สี่เมื่ออัลตราซาวด์จะเห็นเพศได้ชัดเจน โดยดุจากตำแหน่งของทารกขณะอัลตราซาวด์

5 เดือน : เด็กตอบสนองการสัมผัสจากคุณ
เป็นเรื่องโชคดีสำหรับการตั้งครรภ์ครั้งแรก คุณจะดีใจกับการรับรู้แรกที่ทารกสัมผัสทารกจะออกแรงเพือถีบตัวตอนคุณพักผ่อน เขาจะบิดตัวเมื่อรู้สึกตัวและเขามักชอบทำเช่นนั้น ในถุงของเหลวที่มีเยื่อถุงน้ำคร่ำที่มีพื้นที่ให้ทารกน้อยอาบน้ำได้



6 เดือน : แห่งการตื่นตัวของทารก
ทารกอาจขยับตัว 20 ครั้งต่อชั่วโมง และมากว่านี้ เมื่อทารกตกใจ แขนตะพับอยุ่ตรงทรวงอก หัวเข่างอขึ้นมาถึงช่วงท้องซึ่งเด็กส่วนใหญ่จะอยู่ในท่าอย่างที่ควรจะเป็นทารก ทารกอาจนอนหลับ 16 ถึง 20 ชั่วโมงต่อวัน

สื่อสารกับทารกได้
ทารกยังไม่เกิด แต่สามารถแสดงความคิดได้ สามารถส่งข้อความและการรับรู้จากสิ่งกระตุ้นเร้าของสิ่งรอบด้านได้ กล่าวคือ เสียงของแม่ที่พูดคุญหรือการสัมผัสลูบไล้ครรภ์ จะสามารถเตรียมความพร้ามทางจิตใจ และเกิดการเรียนรู้ที่ดีของทารกน้อยได้

ช่วง 7-9 เดือน : ทารกเจริญเติบโตเต็มที่ และรอคอยการออกมาสู่โลกภายนอก

7 เดือน : ชีวิต คือการมองเห็น
ทารกของคุณเริ่มมองเห็นรูปร่างที่คลุมเครือ และแสงที่มีสีแดงจากเนื้อเยื่อของมดลูก ทารกเริ่มมีแก้วหู ได้ยิชัดเจน มีน้ำหนักตัว 1,800 กรัม ความสูง 40 เซนติเมตร เนื่องจากร่ายกายทารกเจริญเติบโตจึงเหลือเนี้อที่ที่ขยับตัวได้น้อยลง การออกกำลั้งกาย สิ้นสุดลงแล้ว ขณะนี้ทารกจะอาศัยการออกกำลังกายเพื่อเคลื่อนไหวร่างการ และทำให้ระบบประสาทสมบูรณ์ ช่วงระยะนี้มี"ไข่หุ้ม"ทารก คล้ายเนยแข็ง หรือเปลือกหุ้มสีขาวที่คอยปกป้องทารกจนกว่าจะคลอด

8 เดือน : เด็กเจริญเติบโตเต็มที่และเจริญอาหาร
ช่วงระยะนี้ ทารกสามารถรับรู้รสชาติอาหารอขงคุณได้ ผลก็คือเจ้าตัวน้อยของคุณอ้วนท้วนผิวหนังของทารกที่มีไขมันเกาะคลายตัว และเริ่มเป็นสีชมพู สดใสอวัยวะหลัก ๆ เริ่มเจริญเติบโตเต็มที่ ส่วนหัวใจนั้นยังต้องเจริญเติบโตต่อไป หัวใจข้างซ้าย และข้าวขวาจะปิดตัวก็เมื่อถึงเวลาคลอดเท่านั้น ถ้าทารกคลอดก่อนเจริญเติบโตเต็มที่ ทารกจะหายใจอ่อน สารอาหารที่มีไขมันจะช่วยทำให้วลจรอขงปอดแข็งแรง ระบบอวัยวะของทารกจะจัดวางเป็นระเบี้ยบ ก่อกำหนดคลอดคือ ศรีษะกลับลงอยู่ด้านล่างตรงปากมดลูก

พร้อมลือตาดูโลก

9 เดือน : พร้อมลือตาดูโลก
ส่วนของขนอ่อหายไป มันจะดูสวยงามตอนคลอด ทารกจะใช้เวลาออกแรง 20 ถึง 30 กรัมต่อวั เป็นการเตื่อนว่าจะคลอดล่วงหน้า ช่วงสัปดาห์ที่ 38 ทารกพร้อมออกมาผจญภัยครั้งยิ่งใหญ่

สวัสดีโลกใบใหม่

วันอังคารที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2553

สวัสดีโลกใบใหม่

การนัดพบที่ไม่ควรพลาด : การตกไข่
ชีวิตทารกของคุณจะเริ่มเกิดขึ้นตามเวลาปฏิทินในหนึ่งครั้งต่อเดือนจะมีช่วงหนึ่งที่ร่างการของคุณพร้อมที่จะตั้งครรภ์ เรียกช่วงเวลานี้ว่า "การตกไข่" ซึ่งจะเกิดขึ้นทุกเดือน คือตั้งแต่วันแรกถึงวันที่ 14 ไข่ หรือ เซลล์สืบพันธ์จะสุกภายใต้อิทธิพลของฮอร์โมนเอสโตรเจน จะมีถุงเล็ก ๆ ที่ค่อย ๆ เติมโตขึ้นอยู่ภายใน แต่จะมีถึงเดียวเท่านั้นที่ได้รับการพัฒนาให้เติมโต จนมีขนาดเท่าผลเชอรี่ขนาดเล็ก จากนั้นจะเคลื่อนตัวไปที่ผนังของรังไข่และรอการปลดปล่อยออกมาตามสภาวะของฮอร์โมน ซึ่งเซลล์สืบพันธ์ของคุณจะผสมกับตัวอสุจิ กลายเป็น"ตัวอ่อน" หรือ "เมล็ดพันธ์ทารก" ซึ่งเกิดจากการผสมของเซลล์สืบพันธุ์ทั้ง 2 ดัวดังกล่าว

ตัวอ่อนมองหารังอันอบอุ่น
ตัวอ่อนจะเคลือนที่ผ่านท่อนำไข่ไปยังมดลูกและถือเป็นการบรรลุวัตถุประสงค์แล้ว หลังจากการเดินทางเป็นเวลา 3-4 วัน ทารกของคุณจะอาศัยอยู่ในเยื่อบุโพรงมดลูก และจะฝังลงไปในเยื่อบุมดลูก ซึ่งถือเป็นการสร้างรังและจะไม่ขยับเขยื้อนไปไหนอีกเลยจนกว่าจะคลอด

สัญญาณเบื้องต้นที่บ่งบอกถึงอาการตั้งครรภ์
ประจำเดือนขาด เหนื่อยง่าย คัดหน้าอก คลื่นไส้ อาเจียน ปัสสาวะบ่อย หิวบ่อย อ่อนเพลีย ผิวคล้ำขึ้น ความรู้ว่ามีเด็กดิ้นในท้อง หมายความว่าอาจมีการตั้งครรภ์แต่ต้องรอดูการเปลี่ยนแปลงต่อไป หรือการตรวจเพิ่มเติม อาการที่เป็นไปได้มากว่ามีการตั้งครรภ์เมื่อแพทย์ตรวจพบ เช่น หน้าท้องโตขึ้น พบการเปลี่ยนแปลงที่ปากมดลูก เมื่อตรวจปัสสาวะมีผลบวก เป็นไปได้สูงที่จะมีการตั้งครรภ์แต่ให้แน่ใจควรมีการตรวจเพิ่มเติม

การทดสอบครับแรกของการตั้งครรภ์
การทดสอบการตั้งครรภ์เป็นวิธีการที่ง่ายและรวดเร็วจะมีประสิทธิภาพเมื่อคุณทำการทดสอบในช่วงวันแรกของการขาดประจำเดือนโดยการทดสอบน้ำปัสสาวะในตอนเช้า หลังจาก ขับออกไปแล้วครั้งแรก หากตั้งครรภ์คุณสามารถรับรู้ผลได้เลยภายใน 3-4 นาที เครื่องมือทดสอบดังกล่าวมีวางขายตามร้านขายยาทั่วไป เครืองมือนี้สามารถยืนยันการตั้งครรภ์ได้เมื่อคุณทราบผลแล้ว ขั้นตอนต่อไป คือ การปรึกษากับสูตินรีแพทย์เพื่อทำการฝากครรภ์ต่อไป


วันจันทร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2553

วิธีรับมือกับภาวะฉุกเฉินของลูก

1.ก่อนอื่นคุณแม่ต้องตั้งสติให้ดี อย่าตกในจนทำอะไรไม่ถูก
2.รีบพาลูกน้อยไปพบแพทย์โดยด่วน
3.ระหว่างที่คุณพ่อคุณแม่โทรศัพท์ติดต่อแพทย์ หรือโรงพยาบาล หากพบกับการจราจรติดขัดบนถนนสามารถโทรติดต่อ จส.100 หรือร่วมด้วยช่วยกันเพื่อประสารงานด้านการจราจร

โทรศัพท์กรณีฉุกเฉิน
-ศูนย์สื่่อสารสาธารณสุข "นเรนทร" โทร...1669, 0-2951-0282
-เหตุด่วนเหตุร้าย โทร...191, 0-2246-1338-42
-จส.100 โทร...0-2711-9150, 0-2711-9151-8
-ร่วมด้วยช่วยกัน โทร...1677, 0-2644-6996
-หน่วยแพทย์กู้ชีวิตวชิรพยาบาล โทร...1554
-สวพ.91 โทร...1664,0-2562-0035, 0-2941-0848

วันอาทิตย์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ยินดีกับคุณแม่มือใหม่



ขอแสดงความยินดีกับคุณแม่คนใหม่
ขอแสดงความยีนดีกับคุณแม่คนใหม่ที่เพิ่งให้กำเนิดทารกน้อยที่กำลังเฝ้ารออยู่ในครรภ์อบอุ่นด้วยความรักถึง 9 เดือน
หนังสือเจ้าตัวน้อย "คู่มือคุณแม่ตั้งครรภ์ 1-9 เดือน" จะเป็นผู้ช่วยเคียงข้างเกี่ยวกับการให้กำเนิดเจ้าตัวน้อย และอธิบายสิ่งซึ่งคุณจำเป็นต้องรู้ และยึดถือปฏิบัติสำหรับคุณแม่ และคุณพ่อมือใหม่
หนังสือเจ้าตัวน้อย ได้สรรสร้างคู่มือที่อ่านง่าย และอัดแน่นด้วยข้อมูลที่เป็นประโยชน์ อาทิขั้นตอน และแง่คิดของการตั้งครรภ์เพือเป็นการง่ายต่อความเข้าใจในหนังสือจะบอกถึงดัชนีรูปภาพ กรอบข้อความ และตารางที่แสดงภาพอย่างชัดเจน คุณแม่สามารถนำหนังสือติดตัวไปอ่านได้ทุกที่ ไม่ว่าจะเป็นที่ทำงาน เวลาเดินทาง และวันหยุดพักผ่อน เพราะหนังสือคู่มือคุณแม่ตั้งครรภ์จะเป็นเพื่อนข้องกายที่ดีของคุณ





Followers

analy