วันศุกร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

วิธีอาบน้ำให้ลูกน้อย

แม่มือใหม่หัดอาบน้ำ
แม้ว่าคุณแม่จะได้ดูวิธีการอาบน้ำให้ลูกที่โรงพยาบาลแล้ว หรือแม้แต่มีเจ้าหน้าที่คอยช่วยอยู่ข้าง ๆ ในการอาบน้ำให้ลูกครั้งแรก แต่ก็ยังเป็นประสบการณ์ที่รู้สึกหวาดหวั่นเมื่อกลับบ้าน และต้องลงมือทำด้วยดัวเองเพียงลำพัง แต่ไม่ต้องกังวล คุณแม่จะค่อย ๆ เรียนรู้ไปเองโดยธรรมชาติ

1.สำลีชุบน้ำ บีบให้แห้ง เช็ดหน้า จมูก ปาก เช็ดหูทั้งสองข้างด้วยสำลีก้าน


2.ผสมน้ำร้อยกับน้ำเย็นให้อุ่นค่อย ๆ อุ้มเด็กลงในอ่าง ใข้ฟองน้ำถูสบู่ ถูท่อนบนก่อน


3.ถูสบู่ตามข้อพับ ซอกคอ พลิกตะแคงถูด้านหลัง แล้วเช็ดสบู่ออกให้หมด


4.ห่อตัวเด็กด้วยผ้าขนหนูผืนใหม่ เพื่อให้เด็กอบอุ่น ทาแป้ง ใส่ผ้าอ้อมแล้วใส่เสื้อ



ของใช้จำเป็นสำหรับเจ้าตัวน้อย
คุณแม่มือใหม่ ควรเตรียบของใช้ประจำเป็นบางส่วน สำหรับเจ้าตัวน้อย หลังจากพาเจ้าตัวน้อยกลับบ้าน

อาบน้ำให้ลูกน้อย

เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อมก่อนอาบน้ำให้ลูกน้อย

การอาบน้ำให้ลูก จะง่ายขึ้น ถ้าคุณแม่เตรียมตัวให้พร้อม ดังนั้นก่อนที่จะเริ่มอาบน้ำคุณแม่ต้องเตรียมสิ่งต่าง ๆ ต่อไปนี้

1.อุปกรณ์สำหรับอาบน้ำ
คุณแม่ควรเตรียมอ่างอาบน้ำพลาสติกสำหรับเด็ก และควรมีขนาดเล็กกว่าอ่างอาบน้ำทั่วไป เพราะจะช่วยให้การอาบน้ำให้ลูกปลอดภัยขึ้น ฟองน้ำสำหรับเด็ก หรือผ้านุ่ม ๆ สบู่หรือครีมอาบน้ำ

2.อุปกรณ์หลังอาบน้ำ
หลังอาบน้ำ คุณแม่ต้องควรเตรียมโลชั่นสำหรับเด็ก หรือเบบีออย์ทาผิวให้ลูกน้อยเพื่อป้องกันผิวแห้ง สำลี และคัตตอนบัด เพื่อเช็ดทำความสะอาดผิว ที่ตัดเล็บ หวีแปรงผมที่มีขนอ่อนนุ่ม เป็นต้น

3.ของเล่นขณะอาบน้ำ
เด็กแรกเกิด อาจยังไม่พร้อมเล่นของเล่นขณะอาบน้ำ แต่เด็กอายุ 3-5 เดือน สนใจจ้องมองสิ่งต่าง ๆที่อยู่ด้านนหน้า คุณแม่อาจติดโมบายที่มีสีสันสวยงานให้ลูกน้อยได้มองเพลิน ๆ ขณะอาบน้ำ เด็กอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป คุณแม่สามารถหาของเล่นมาให้เค้าได้หยิบจับตอนอาบน้ำก็ได้

วันอังคารที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การเปลี่ยนผ้าอ้อม

ในแต่ละวัน คุณแม่ต้องคอยเปลี่ยน และทำความสะอาดก้นของลูกน้อยทุก ๆ 3-4 ชั่วโมง หรือทุกครั้งที่ถ่าย เพือสุขอนามัยที่ดีของเจ้าตัวน้อย ไม่ใช่เรื่องยากสำหรับคุณแม่มือใหม่


ถอดผ้าอ้อมผืนเก่าออก เช็ดทำความสะอาดด้วยสำลีชุบน้ำ บริเวณก้น ขาหนีบ ทวานหนัก


ยกขาเด็กทั้งสองข้างสอดผ้าอ้อมให้รองใต้ก้นเด็ก วางขาลง


ติดแถบกาวทีละข้างให้กระชับ จัดทรงผ้าอ้อมสำเร็จรุปให้ต่ำกว่าสะดือ


แค่นี้ลุกน้อยก็สบายตัว ไม่ร้องให้โย้เย็แล้ว

การเลือกผ้าอ้อม

การเลือกผ้าอ้อมแบบง่่าย ๆ

คุณแม่มือใหม่บางคนไม่แน่ในว่าจะใช้ผ้าอ้อมที่เป็นผ้า หรือผ้าอ้อมสำเร็จรูปที่ใช้แล้วทิ้งดี ผ้าอ้อมที่ทำด้วยผ้าจะมีงานซักฟอกทำความสะอาดและสถานที่ตาก ผึ่งให้แห้ง การใช้ผ้าอ้อมซักได้ จะถูกกว่าในระยะยาว ผ้าอ้อมใช้แล้วทิ้งก็สะดวก แต่ค่าใช้จ่ายสูง การตัดสินใจขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมและฐานะ ถ้ามีเครื่องซักผ้า และอบแห้งได้ การใช้ผ้าอ้อมซักได้ก็ดีกว่า แต่ถ้าไม่มี อาจจะใช้ร่วมกันได้ คือ ใช้ผ้าอ้อมที่ทำด้วยผ้าในเวลากลางวัน และใช้ผ้าอ้อมสำเร็จรูปในเวลากลางคือ เพือจะได้ไม่ต้องเปลี่ยนบ่อย อย่าลืมว่า บ้านเรามีอากาศร้อน ใส่ผ้าอ้อมตลอดเวลาอบมาก บางคนเกิดผิวหนังอักเสบ ควรงดใช้ชั่วคราว จนกว่าจะหาย

เมื่อเจ้าตัวน้อยเริ่มเคลือนไหว
เต็กแรกเกิด ต้องหมั่นเปลี่ยนผ้าอ้อมบ่อย ๆ และผ้าอ้อมต้องไม่ระคายเคืองต่อผิวเจ้าตัวน้อย


3-5 เดือน เด็กจะเริ่มคลาน ต้องมั่นใจว่าผ้าอ้อมที่ใช้สามารถรองรับการเคลื่อนไหวได้ดี


6 เดือน เด็กมีการเคลื่อนไหวมากขึ้น ผ้าอ้อมจึงต้องกระชับ ใส่สบาย


18-24 เดือน คุณพ่อ คุณแม่ส่วนใหญ่เริ่มฝึกลูกให้นั่งกระโถน ซึ่งระยะนี้เด็กพร้อมที่จะฝึกได้เป็นอย่างดี

การเลี่ยงลูกด้วยนมแม่

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
ลูกดูดนมได้อย่างเต็มที่ ตามความต้องการของร้างกาย และนมแม่ยังมีสารอาหารที่ป้องกัน โรคภูมิแพ้ และโรคติดเชื้อต่าง ๆ

มีสารอาหารครบถ้วนย่อยง่าย และอุดมไปด้วยโปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต เกลือแร่ และวิตามิน สารอาหารในนมแม่จะช่วยให้เด็กมีพัฒนาการและการเจริญเติมโตที่ดี

ควรจะเริ่มให้ลูกดูดนมตั้งแต่วันที่ 2 หลังคลอด ถึงแม้จะยังไม่รู้สึกคัดเต้านมก็ตาม เมื่อลูกเริ่มดูด ก็เป็นการกระตุ้นให้ต่อมน้ำนมสร้างน้ำนมได้เร็วขึ้นด้วย สำหรับในกรณีที่คุณไม่อาจให้นมลูกในขณะที่ยังอยู่ในโรงพยาบาลนั้น ควรปั๊มนมออกเป็นระยะ ๆ อาจทุก 3 ซม. เพื่อสร้างทางให้นมไหล และทำให้ต่อมน้ำนมสร้างน้ำนม เมื่อออกจากโรงพยาบาล ก็สามารถเลีัยงลูกด้วยน้ำนมแม่ได้ทันที สำหรับคุณแม่ที่ทำงานนอกบ้าน ควรพยายามให้นมลูกให้มาที่สุด อย่างน้อย ตลอดระยะเวลาลาคลอด 45 วัน - 3 เดือน ไม่ควรรีบ

การให้นม
การนอนให้นม ส่วนมาก จะเป็นท่าที่ใช้ในช่วงเวลากลางคืน เพราะจะเหมาะมากสำหรับคุณแม่ที่เหน็ดเหนื่อยมาทั้งวันแล้ว
ให้นอนตะแคงด้านซ้าย หรือด้านขวา ตามที่คุณแม่ถนัดเมื่อต้องการให้นม
นอนหนุนหมอนหนึ่งใบ อีกใบให้วางไว้ข้างตัวคุณ

ให้ลุกน้อยกันหน้าเข้าหาคุณ ให้ศรีษะเด็กอยุ่ในระดับเดียวกันเต้านม


จับเด็กให้อยู่ในท่าพร้อมสำหรับการดูดนมจากเต้า

Followers

analy