วันจันทร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

การกระตุ้นภูมิคุ้มกันในเด็ก


ทารกที่เกิดใหม่บางคนอาจไม่ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ซึ่งประโยชน์ในการป้องกันพวกเขาจากโรคร้าย โดยทั่วไปวัคซีนเป็นสิ่งปลอดภัยสำหรับเด็ก แต่อาจมีผลข้างเคียงเล็กน้อย หรืออาจไม่มีเลย แต่ว่าการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคร้ายต่าง ๆ นั้นมีคุณค่าเกินกว่าผลข้างเคียงที่อาจจะพบได้บ้างเพียงเล็กน้อย

แรกเกิด-บีซีจีป้อกันวัณโรค ตับอักเสบบี
2เดือน-ตับอักเสบบี คอตีบ บาททะยัก ไอกรม เยื่อหุ้มสมองอักเสบ หยอดโปลิโอครั้งที่ 1
4เดือน-ตับอักเสบบี คอตีบ บาทะยัก ไอกรน เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อฮิบ หยอดโปลิโอครั้งที่ 2
6เดือน-ตับอักเสบบี คอตีบ บาททะยัก ไอกรน เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื่อฮิบ หยอดโปลิโอครั้งที่ 3
8-12 เดือน-วัคซีนรวมป้อกันโรคหัด หัดเยอรมัน คางทูมเข็ม1
2ปี-ตับอักเสบบี คอตีบ บาดทะยัก ไอกรน เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อฮิบ โปลิโอกระตุ้นครั้งที่ 1 ไข้สมองอักเสบครั้งที่ 1 และ2 โดยให้ห่อนกัน 1-2 สัปดาห์ อีสุกอีใส
2ปีขึ้นไป-ตับอักเสบเอ 2 เข็มห่างกัน 6 เดือน ไข้สมองอักเสบครั้งที่ 3 ห่างจากครั้งแรก 1 ปี
4-6ปี-วัคซีนรวมป้อกันโรคหัด หัดเยอรมัน คางทูม เข็ม2 วัคซีนป้องกันโรคไทฟอยด์

เจ้าตัวน้อย ป่วย

ภูมิคุ้มกันโรคในเด็กเล็กนั้นยังไม่แข็งแรงดีเท่ากับภูมิคุ้มกันในผู้ใหญ่ แต่ขณุที่คุณเลี่้ยงเขาด้วยน้ำนมแม่นั้น เท่ากับเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันโรคให้แก่เขาโดยธรรมชาติ แล้วเขาจะเจ็บป่วยสักระยะ แต่ความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้น เท่ากับเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้เขา

เจ้าตัวน้อยเป็นหวัด
หวัดเกิดจากเชื้้อไวรัส บางครั้งมันเป็นเรื่องยากที่จะบอกได้ว่า มันเป็นเพียงอาการคัดจมูกธรรมดา ๆ สำหรับเด็ก หวัดเปรียบเสมือน คำว่า "เปียก" มักมีเมือกหรือของเหลวเกิดขึ้นในจมูก ซึ่งอาจไหลลงไปในลำคอ ทำให้เกิดการไอนั้น ทำให้เด็กหายใจลำบาก และสร้างปัญหาในการนอน และการทางอาหารปัจจุบันนี้ยังไม่มียาชนิดที่สามารถรักษาให้หายได้ เพียงแต่ทำให้อาการหวัดดีขึ้น และหายเร็วขึ้นเท่านั้น

การให้เด็กทานยาพาราเซตามอล(สำหรับเด็ก) สามารถช่วยลดไข้และทำให้เขาสบายตัวขึ้นเพี่ยงเท่านั้น ซึ่งมันไม่ไช่ยาแก้หวัดแต่อย่างไร อาการคัดจมูก หายใจเสียงดังอาจยังคงอยู่ประมาณ 6-8 สัปดาห์ เพราะเด็กต้องใช้เวลาสักระยะในการรักษาตัวนานกว่าผู้ใหญ่ ควรพบแพทย์ถ้าเด็กไม่อยากอาหาร ตัวอ่อนปวกเปียก และมีไข้ไม่ควรนิ่งเฉย โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเด็กหายใจลำบาก และริมฝีปากเขียวคล้ำ

ที่จริงแล้วเรื่องไข้หวัดนี้เป็นอาการแสดงการติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนบน ซึ่งหมายถึงตั้งแต่จมูกไปถึงส่วนลำคอบน เช่น ทอนซิล แต่ในบางครั้งก็พบว่ามีการอักเสบของทางเดินหายใจส่วนที่อยู่ล่างลงไปจากนั้น เช่น หลอดลม และปอดร่วมด้วย

ความกังวลของคุณแม่เมื่อต้องให้ยา
ถ้าคุณแม่กังวลเกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะ เกินความจำเป็น ควรจะบอกคุณหมอให้ทราบถึงความกังวลนี้ และสอบถามถึงวิธีการดูแลเมื่อเด็กเป็นหวัด และถามถึงภาวะการเจ็บป่วยที่ลูกเป็นอยู่ในขณะนั้น ว่าเป้นหวัดธรรมดาหรือมีอาการแทรกซ้อน ซึ่งการรักษาให้ยาจะต่างกัน แม้ไข้หวัดธรรมดาน่าจะหายเองได้ แต่การพักผ่อนที่เพียงพอ และการดูแลเอาใจใส่ใกล้ขิดจะมีส่วนสำคัญในการผ่อนหนักเป็นเบา และทำให้หายได้เร็กขึ้นโดยไม่เกิดโรคแทรกซ้อน

เมื่อเจ้าตัวน้อยมีไข้
-ให้เด็กได้รับปริมาณยาที่เหมาะสม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอายุ (พาราเซตามอบสำหรับเด็กแรกเกิด)
-ขณะที่รอยาออกฤทธิ์ ให้ถอดเสื้อของเด็กออกจนถึงผ้ออ้อมที่เด็กใส่ แล้วให้นอนใต้ผ้าห่มบาง ๆ ในห้อที่มีการกาศเญ้นปกติ เพียงพอแล้ว
-หลังจากนั้น 30 นาที ถ้ายังตัวร้อนมาก ให้นำฟองน้ำชุดน้ำอุ่น(ไม่ใช่้น้ำเย็น) เช็ด อย่าให้เด็กมีอาการสั่นเทา เพราะจะทำให้ร่างกายของเด็กมีอุณหภูมิสูงขึ้น
-ถ้าคุณรู้สึกว่ากังวลใจ และไม่สามารถหาสาเหตุของอาการไข้ได้ ให้รีบนำตัวเด็กไปพบแพทย์

ท้องผูก
เด็กที่ได้รับน้ำนมจากแม่ มักไม่ค่อยมีอาการท้องผุก แต่ในช่องอายุระหว่าง 6 สัปดาห์ ถึง 3 เดือน เด็กจะถ่ายอุจจาระลดลงมาก ทำให้ผู้เป็นแม่เกิดความกังวลและคิดว่าเด็กท้องผูก อาการท้องผูก หมายถึงการถ่ายลำบาก อุจจาระแข็ง และลำไส้ทำงานน้อย เมื่อเด็กได้รับน้ำนมสำเร็จจูป หรืออาการอื่น ๆ การเคลื่อนไหวของลำไส้ที่เปลี่ยนไป อาจทำให้ท้องผูกได้ ควรตรวจสอบสูตรของนมที่เด็กทาน รวมไปถึงวิธีการชงนม ถ้าเด็กยังคง้องผูกให้รับประทานน้ำผลไม้เพืิ่มเติม แต่ถ้ายังกาการไม่ดีขึ้นควรปรึกษาแพทย์

ท้องอืด
ท้องอืดมักเป็นปัญหาที่เกิดในเด็กทากร คือ มีลมหรือความดันในช่องท้องมากเกินไป ทำให้ระบบย่อยอาหารไม่ดีเท่าที่ควร ซึ่งอาจเกิดจากการดูดขวดนมเปล่า หรือกันนมผสม หรือบางคร้ังคุณแม่อาจจะไม่ทราบสาเหตุว่าทำไมลูกถึงร้องไห้โยเยไม่หยุด จนคุณพ่อคุณแม่เกิดความวิตกกังวลกับอาการร้องไห้งอแง นั้นอาจเป็นอาการที่ลูกจ้อยของคุณมีอาการท้องอืดได้ เด็กบางคนถ้าได้เรอหรือผายลม ก็ทำให้อาการท้องอืดหายไปเอง แต่ถ้าไท่มีการเรอหรือผายลมแล้ว คุณปม่อาจช่วยลูกน้อยอีกแรงด้วยการอุ้มลูกน้อยพาดบ่า เดินไปมา พร้อมกับลูบหลังเบา ๆ เพื่อเป็นการช่วยให้เด็กเรอออกมาได้เองตามธรรมชาติ หรืออาจรับประทางยาแก้ท้ออืดอย่างพอเหมาะตามคำแนะนำบนฉลากยาข้างขวดอย่างเคร่งครัด

อาการท้ออืดในเด็กส่วนใหญ่เมื่อโตขึ้นมักจะหายไปเอง โดยไม่ต้องใช้ยาอย่างต่อเนื่อง แต่หากลูกน้อยมีอาการท้องอืดและปวดท้องอย่างรุนแรงร่วมด้วยละก็ คุณพ่อคุณแม่ควรพาไปพบแพทย์โดยเร็ว เพราะอาจมีอาการของโรคอื่น ๆ แทรกซ้อน อย่านิ่งดูดาย สุขภาพของลูกน้อยย่อมมาพร้อมกับความรัก ควาาเข้าใจ และความอบอุ่นในครอบครัว

แก้ท้ออืดแบบง่าย ๆ
นวดด้วยน้ำมันหอมผสมกานพลู นวดที่ท้องเด็กเบา ๆ ตามเข็มนาฬิกา การใช้ยาสอด วิธีนี้คุพ่อคุณแม่ควรปรึกษาแพทย์ก่อน การดึืมน้ำลูกพรุนในแต่ละมืออาหาร จะช่วยให้เด็กรู้สึกสบายท้อง ลดการท้องอืด


วันอาทิตย์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

มื้ออาหารที่เหมาะสมกับวัย

อาหารนั้นไม่ได้มีความสำคัญกับเจ้าตัวน้อยในแง่ของการให้พลังงาน และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรออย่างเดียว แต่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการทุกด้าน ทั้งเรื่องของกิจกรรม ความสุข ทุกข์ จนถึงการเข้าสังคม อาหารจึงเหมือนจุดเริ่มต้นแห่งการเรียนรู้ในขั้นแรก ๆ ของเจ้าตัวน้อย



เจ้าตัวน้อยวัย 6 เดือน
คุณแม่ควรเพิ่มเนื้อสัตว์สับละเอียด รวมทั้งไข่ไก่ และข้าวบดที่หยาบขึ้นเล็กน้อย ประมาณ 1 ถ้วย

เจ้าตัวต้อยวัย 7 เดือน
เจ้าตัวน้อยสามารถกินผลไม้ได้บ้างแล้ว คุณแม่ควรเลือกผลไม้ที่ย่อยง่าย เช่น กล้วย มะละกอสุก หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ เพือให้เด็กได้เริ่มฝึกเคี้ยว คุณแม่ต้องคอยดูอยู่ใกล้ ๆ เพราะเด็กอาจสำลักอาหารได้

เจ้าตัวน้อย 8-9 เดือน
ฟันของเจ้าตัวน้อยเริ่มขึ้นประมาณ 3-4 ซี่ จึ่งสามารถกินอาหาาเนืือหยาบกว่าเดิมได้แล้ว จอกจากนี้คุณแม่ยังสามารถให้อาหารนี้แทนนมได้ 2 มือ

เจ้าตัวน้อยวัย 12 เดือน
จากนี้อาหารเสริมจะกลายเป็นอาหารมือหลัง 3 มื้อ ส่วนนมแม่วันละ 3-4 มือ ถือว่าเป็นอาหารเสริมแทน ไม่ควรให้เด็กทานน้ำส้มคั้น เพราะถ้าเตรียมไม่สะอาดเด็กอาจเป็นท้องร่วงได้ ที่สำคัญเด็กวัย 4-6 เดือนได้รับวิตามินจากนมแม่เพียงพออยู่แล้ว


เจ้าตัวน้อยวัย 1-3 ปี
คุณแม่หัดให้เจ้าตัวน้อยกินข้าวสวยหุงนิ่ม ๆ เหมือนผู้ใหญ่ได้ แล้วอาหารของเด็กวัยนี้ควรเป็นรสชาติอ่อน ไม่ควรปรุงรส และไม่ควรให้อาหารว่างระหว่างมื้อ เพราะจะทำให้เด็กทานอาหารลดลง

การแพ้อาหาร
การแพ้อาหารอย่างรุนแรง จัดว่าเป็นสิ่งผิกปกติ มักเกิดภายหลังที่เด็กทางอาหารไปไม่นาน มีอาการอาเจียน ท้องเสีย หรือปากบวม บางครั้งหน้าอาจบวมคล้ายจะเป็นลม หรือหายใจลำบาก ควรรีบนำตัวเด็กส่งโรงพยาบาล อาหารส่วนใหญ่ที่ำให้เกิดอาการเหล้านี้มักเป็นอาหารจำพวก ถั่ว ไข่ นม ข้าวสาลี เนื้อปลา และน้ำนมถั่วเหลือง ถ้าอาการไม่รุ่นแรงนัก อาจมีผื่นขึ้นผิวหนัง หายใจขัดหรือน้ำมุกไหล ควรให้ทานอาหารที่มีกากใยสูงในบางโอกาส เริ่มให้เด็กทานซุปข้นก่อนและค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นอาหารแข็ง เพื่อให้เด็กสามารถตอบสนองได้ดี ถ้าบุคคลภายในครอบครัวมีประวัติการแพ้อาหารอย่างรุนแรง ควรรอให้เด็กมีอายุ 6 เดือนก่อน จึงค่อยให้เด็กเริ่มทางอาหารแข็ง อาหารที่มีส่วนผสมของนมวัว และรอจนกระทั่งเด็กอายุ 3 ปีก่อน จึ่งให้ทานอาหารที่ผลิตจากถึ่ว ที่สำคัญไม่ควรให้เขาทางถั่วทั้งเม็ด จนกระทั่งอายุได้ 6 ปี

การล้างมือ

สุขภาพและพัฒนาการของลูกน้อย
สุขภาพและพัฒนาการของลูกน้อย คือสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับคุณพ่อ คุณแม่ ซึ่งในข้อมูลและวิธีการอาจจะดูยุ่งยากและมากมายน่าตกใจ แต่ในความเป็นจริงแล้ว การดูแลเจ้าตัวน้อยสามารถปฏิบัติโดยการเริ่มต้นง่าย ๆ จากตัวคุณ อาทิ เช่น หมั่นล้างมือ ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคบนพื้นผิวที่มีการสัมผัสบ่อย เพราะจะสามารถลดการแพร่กระจายของเชื้อโรคและอาการเจ็บป่วยที่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากอาการภูมิแพ้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อคุณจะได้ใช้เวลากับคนสำคัญที่สุดของคุณ ในช่วงเวลาที่แสนพิเศษของครอบครัว

การล้างมือ
คือ หนึ่งในวิธีการที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้้อโรค และในขณะเดียวกันก็ช่วยป้องกันการรับเชื้อโรคมาสู่ตัวคุณ และลูกน้อยของคุณ เพราะฉะนัั้นคุณควรหมั่นล้างมือด้วยน้ำสะอาดและสบู่เป็นประจำและเช็ดมือให้แห้ง

คุณควรล้างมือ
-ก่อนที่จุสัมผัสกับลูกน้อย
-ก่อนและหลังการเตรียมอาหาร ป้อนนม หรือป้อนยาให้แก้ลูกน้อยของคุณ
-ทุกครั้งหลังการใช้ห้องน้ำ และเปลี่ยนผ้าอ้อมของเจ้าตัวน้อย
-หลังการไอ จาม หรือ สัมผัสบริเวณจมูก ไม่ว่าจะเป็นของตนเองหรือของผู้อื่น
-หลังจากการสัมผัสสัตว์เลี่ยง
-หรือเมื่อไหร่ที่คุณรู้สึกว่ามือสกปรก

หากในกรณีที่ไม่สะดวกในการล้ามือด้วยน้ำสะอาดและสบู่ ก็สามารถใช้ผลิตภัณฑ์เจลล้างมืออนามัยแบบไม่ต้องใช้น้ำแทนได้ชั่วคราวเพื่อรักษาสุขอนามัยของมือคุณ

วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

การแก้ปัญหาจากการให้นมเด็ก

เจ็บหัวนม
การเจ็บที่หัวนมหรือหัวนมแตกนั้น เป็นปัญหาใหญ่เมื่่อเด็กโตขึ้น คุณจำเป็นต้องปรับตำแหน่งเพื่อให้เขาได้รับน้ำนมได้อย่างเหมาะสม หากยังมีอาการเจ็บที่หัวนมควรขอคำปรึกษาจากแพทย์ เพือให้เข้าใจถึงวิธีการให้น้ำนมที่ถูกต้องเมื่อเด็กมีฟันซี่แรก เด็กอาจพยายามกัดหรือเคี้ยวให้อ้าปากของเด็กอย่างช้า ๆ อย่างเบามือ และพูดว่า "ไม่" ไม่นานเด็กจะเข้าใจความหมายของมัน

การดูดนมอย่างตะกละ
มักเกิดขึ้นตอนที่เด็กได้รับน้ำนมในครั้งแรก หรือภายหลังจากที่เด็กนอนหลับนานกว่าปกติ ซึ่งทำให้ผู้เป็นแม่รู้สึกแสบ หรือเจ็บที่หัวนม เพื่อเป็นการป้องกัน ควรให้เด็กได้รับน้ำนมจากอกเพียงข้างเดียวก่อน จากนั้นค่อยให้เด็กได้รับน้ำนมจากอกอีกข้างหนึ่ง แต่ถ้าเป็นเด็กที่นอนมาก จำเป็นต้องเตือนเขาเมื่อถึงเวลาที่เขาควรได้ทางนมแล้ว ให้นำผ้าที่ห่อตัวเด็กออก ลูบแก้มและขากรรไกรเขาเบา ๆ จะทำให้เขาตื่นขึ้น

เด็กได้รับน้ำนมเพียงพอหรือยัง
ผู้หญิงหลายคนมีความกังวลต่อความสามารถของร่างการในการสร้างน้ำนมให้แก่เด็ก เพราะไม่มีใครสามามารถสังเกตุได้จากสิ่งต่าง ๆ ดังนี้
-ในหนึ่งวันเด็กควรได้รับน้ำนม 6-8 ครัั้ง/วัน
-ควรขับถ่ายของเหลวหรือ ควรเปลี่ยนผ้าอ้อมสำเร็จรูป
-ประมาณ 6 ผืน/วัน
-หน้าอกของคุณนิ่มลงภายหลัง จากการให้น้ำนม
-เด็กควรมีน้ำหนักตัวที่เหมาะสม
-บางครั้งอาจมีการแหวะหรือเรอ ภายหลังจากการได้รับน้ำนม
-เด็กจะรู้สึกสดชื่่นขึ้นภายหลังจากการได้รับน้ำนม

การให้นมแม่

เมื่อคุณแม่ให้นมเจ้าตัวน้อยนับเป็นประสบการณ์พิเศษ ร่างน้อย ๆ ที่ถูกโอบอุ้มในอ้อมแขนรอรับน้ำนมจากแม่ ชวยเสริมสร้างความผุกพันของแม่กับลูกให้แนบชิดยิ่งขึ้น

1.นังบนเก้าอี้หรือเตียงนอนที่คุณแม่สามารถพิงหลังได้สบาย ๆ
2.อุ้มเจ้าตัวน้อยอยู่ในอ้อมแขนให้ศรีษะเด็กอยู่ในอ้อมแขนให้ศรีษะเด็กอยู่ช่วงเว้าของข้อศอก แขนประคองลำตัวเด็ก มีอประคอบอยู่ที่สะโพกหรือก้นเด็ก
3.หน้าเด็กจะหันเข้าหาเต้านมคุณแม่โดยอัตโนมัติ มืออีกข้างประคองเต้านมข้าที่เด็กดูดเพื่อให้หัวนมเข้าปากเด็ก
4.เมื่อเจ้าตัวน้อยอิ่มแล้วจะคลายปากออกจากเต้านมเอง ไม่ควรดึงหัวนมออกจากปากเด็กให้ลอดนิ้วก้อยเข้าตรงมุมปากเด็ก กดเต้านมเล็กน้อย เมื่อเด็กคลายออกจึงดึงหัวนมออก
1.ให้นอนตะแคงด้านซ้าย หรือด้านขวาตามที่คุณแม่ถนัดเมื่อต้องการให้นม
2.นอนหนุนหมอนหนึงใบ อีกใบให้วางไว้ข้างตัวคุณ
3.ให้ลูกน้อยหันหน้าเข้าหาคุณ ให้ศรีษะเด็กอยู่ในระดับเดียวกับเต้านม
4.จับเด็กให้อยู่ในท่าพร้อมสำหรับการดูดนมจากเต้า

วันจันทร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

นมแม่ เสริมสร้างเจ้าตัวน้อย

มหัศจรรย์น้ำจากอกแม่
การเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่จัดว่าเป็นสิ่งที่ดีที่สุด เพราะน้ำนมในอกแม่จัดว่าเป็นแหล่งของสารอาหารที่มีความอุดมสมบูรณ์สำหรับเด็ก และยังดีสำหรับคุณผู้เป็นแม่เพราะสามารถช่วยให้มดลูกเข้าที่ได้เร็วขึ้น รวมทั้งยังช่วยให้น้ำหนักคุณแม่ลดลงได้เร็วขึ้นอีกด้วย น้ำนมแม่สามารถย่อยสลายได้ง่าย ทั้งยังสามารถป้องกันการติดเชื้อต่าง ๆ ในเด็กไม่ว่าจะเป็นอาการท้องเสีย ปวดหู หรือเป็นไข้ นอกจากนี้ WHO หรือ World Health Organization ยังให้คำแนะนำว่าควะให้เด็กได้รับน้ำนมจากผู้เป็นแม่จนกระทั่งเขามีอายุอย่างน้อย 1 ปี
ขั้นตอนในการใหน้ำนมเด็ก
1.นั่งบนเก้าอี้ที่มีพนัก ใช้หมอนรองที่แผ่นหลัง เท้าวางราบบนพื้น ยกตัวเด็กเข้าหาอก จัดตำแหน่งของหัวนมให้อยู่ในแนวเดียวกับจมูกของเขา เอียงศรีษะ และปากของเด็ก และหัวนมอยู่ในระดับเดียวกัน

2.เด็กส่วนใหญ่มีสัญชาติญาณที่ดีในการค้นหาเมื่อหิว แต่ถ้าเด็กช้ามาก ให้ใช้้หัวนมแตะที่ข้างแก้ม เขาจะหันมาสัมผัสกับมัน แต่เมื่อเขาหาหัวนมเจอ

3.เมื่อเขาหามันพบ น้ำนมจะถูกกระตุ้นให้ไหลออกมา แต่ต้องแน่ใจว่าเมื่่อเด็กได้รับน้ำนมเพียงพอแล้ว หัวนมของคุณจะไม่แตกหรือเจ็บ

เลือกผ้าให้เจ้าตัวน้อย

เสื้อผ้าเด็กที่วางขายอยู่มีให้เลือกมากมายหลายแบบหลากสีสัน จนคุณพ่อคุณแม่เลือกแทบไม่ถูก แต่ไม่ว่าเสื้อผ้านั้นจะดูน่ารักขนาดไหน ก่อนตัดสินใจซื้ออย่าลือนึกถึงสิ่งต่อไปนี้

เนื้อผ้า-เสื้อผ้าเด็กควรตัดเย็บจากผ้าฝ้ายเนื้อนุ่มหรือผ้าป่านโปร่งบาง จะไม่ระคายเคืองกับผิวที่บอบบางของเด็ก เพราะผ้าสองชนิดนี้ระบายอากาศได้ดี เหมาะกับบ้านเรา

ตะเข็บ-นอกจากดูเนื้อผ้าแล้วควรดูบริเวณที่เป็นตะเข็บด้วยว่าเย็บเรียบร้อยหรือไม่ เสื้อผ้าเด็กควรเลือกที่มีตะเข็บน้อยที่สุด เพื่อไม่ให้เกิดการเสียดสีผิวของเด็ก

แบบ-ควรเลือกแบบเรียบ ๆ ที่ใส่ง่าย ถ้าเป็นแบบผ่าหน้าใช้เชือกผูกจะดีที่สุด เพราะสวมง่ายถอดสะดวก ส่วนกางเกงให้เลือกเป็นยางยึดที่ขอบเอวไม่รัดแน่นเกินไป

เหมาะกับอากาศ-บ้านเราเป็นเมืองร้อน ควรเลือกเนื้อผ้าโปร่งจะเหมาะกว่า แต่ก็ต้องมีเสื้อแขนยาว และกางเกงขายาวเผื่อไว้ใช้ในตอนที่อากาศเย็น ๆ ด้วย



แม่มือใหม่หัดอาบน้ำ

ธรรมชาติของเด็ก ๆ แทบทุกคนชอบเล่นน้ำที่สุด อาจเป็นเพราะตอนอยู่ในท้องแม่ เด็กจะลอยตัวในน้ำคร่ำ เด็กบางคนชอบกระทุ่มน้ำด้วยมือ และเท้า คุณแม่อาจพูดคุยหรือร้องเพลงอย่างง่าย ๆ ให้ ลูกน้อยฟังด้วยความรัก
สำลีชุบน้ำบีบให้แห้ง เช็ดตา หน้า จมูก ปาก เช็ดหูทั้งสองข้างด้วยสำลีก้าน

ผสมน้ำร้อนกับเย็นให้อุ่น ค่อย ๆ อุ่มเด็กลงในอ่าง ใช้ฟองน้ำถูสบู่ ถูท่อนบนก่อน
นำผ้านุ่มแมาเชิดตัวลูก
ห่อลูกด้วยผ้าอ้อมเพื่อปรับอุณหภูมิ

วันศุกร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

7 เคล็ดลับเช็ดตัวให้ลูก

เช็ดตัว ใครว่าไม่สำคัญ เด็กแรกเกิดไม่จำเป็นต้องอาบน้ำทุกวัน เพียงการเช็ดตัวเพื่อการทำความสะอาดร่างกาย สามารถเป็นอีกทางเลือกหนึ่งให้คุณแม่ ถ้าเจ้าตัวน้อยไม่ชอบช่วงเวลาการอาบน้ำเอาเสียเลย

1.คุณแม่ล้อมมือให้สะอาด ด้วยสบุ่หรือสบู่เหลวที่มีประสิทธิภาพในการฆ่า และกำจัดเชื้อแบคทีเรีย
2.ถอดเสื้อผ้า และผ้าอ้อมออก ห่อตัวเด็กด้วยผ้าขนหนู เพื่อสร้างความอบอุ่น
3.เริ่มเช็ดจากหัวตาด้านในออก สู่หางตา ด้วยสำลีที่สะอาดสำหรับการเช็ดแต่ละครั้ง จากนั้นให้ใช้กระดาษทิชชูเช็ดให้แห้ง
4.เช็ดใบหน้า ลำคอ และหู เช็ดให้สะอาดโดยเน้นที่บริเวณรอยพับคอ ซึ่งมักเป็นที่สะสมของน้ำลาย ส่วนหูให้เช็ดทำความสะอาดทั้งหมด รวมไปถึงบริเวณหลังใบหู แต่อย่างพยายามล้างทำความสะอาดข้างหู
5.ล้างมือของเด็กทั้งสองข้าง กางนิ้วมือของเด็กออกเสี่ยก่อน และเท้าโดยเฉพาะบริเวณซอกนิ้วและใต้ท้องแขน เช็ดเบา ๆ ทีละนิ้ว
6.สายสะดือควรทำความสะอาดทุกวัน โดยจับปลายสะดือยกให้สูงขึ้น ใช้สำลีจุ่มแอลกอฮอล์ เช็ดสะดือด้านในจากบนลงล่างเพียงครั้งเดียว เช็ดแบบเดิมให้ครบทั้ง 4 ด้านจนแห้งสนิท
7.เช็ดบริเวณที่สวมใส่ผ้าอ้อม เด็กผู้หญิงให้เช็ดบริเวณด้านหน้าไปด้านหลัง สำหรับเด็กผู้ชายไม่ต้องดึงหนังหุ้มปลายเพื่อทำความสะอาด

วันพฤหัสบดีที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การอาบน้ำให้ลูกน้อย


1.อุปกรณ์สำหรับอาบน้ำ
คุณแม่ควรเตรียมอ่างอาบน้ำสำหรับเด็กแรกเกิด สบู่ หรือครีมอาบน้ำ พร้อมน้ำอุ่นผสมเสร็จให้พร้อมก่อนนำลูกน้อยลงอาบน้ำ

2.อุปกรณ์หลังอาบน้ำ
หลังอาบน้ำ คุณแม่ต้องควรเตรียมโลชั่นสำหรับเด็ก หรือเบบี้ออย์ทาผิวให้ลูกน้อย เพื่อป้องกันผิวแห้ง สำลี และคัตตอนบัดเพื่อเช็ดทำความสะอาดผิว ที่ตัดเล็บ หวีแปรงผมที่มีขนอ่อนนุ่ม เป็นต้น

3.ของเล่นขณะอาบน้ำ
เด็กแรกเกิด อาจยังไม่พร้อมเล่นของเล่นขณะอาบน้ำ แต่เด็กอายุ 3-5 เดือน สนใจจ้องมองสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ด้านหน้า คุณแม่อาจติดโมบายที่มีสีสันสวยงามให้ลูกน้อยได้มองเพลิดเพลินขณะอาบน้ำ เด็กอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป คุณแม่สามารถหาของเล่อนมาให้เค้าหยิบจับตอนอาบน้ำก็ได้

วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การเปลี่ยนผ้าอ้อม

ในแต่ละวันคุณแม่ต้องคอยเปลี่ยน และทำความสะอาดก้นน้อง ทุก ๆ 3-4 ชั่วโมงหรือ ทุกครั้งที่ถ่าย เพื่อสุขอนามัยที่ดีของเจ้าตัวน้อย ไม่ใช่เรื่องยากสำหรับคุณแม่มือใหม่

ถอดผ้าอ้อมผืนเก่าออก เช็ดทำความสะอาดด้วยสำลีชุบน้ำ บริเวณก้น ขาหนีบ ทวารหนัก


ยกขาเด็กทั้งสองข้าง สอดผ้าอ้อมให้รองได้ก้นเด็ก วางขาลง



ติดแถมกาวที่ละข้างให้กระชับ จัดทรงผ้าอ้อมสำเร็จรูปให้ต่ำกว่าสะดือ



แค่นี้ลูกน้อยก็สบายตัว ไม่ร้องไห้โยเย้แล้ว

วันเสาร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2554

การเลือกผ้าอ้อม

คุณแม่มือใหม่บางคนไม่แน่ใจว่าจะใช้ผ้าอ้อมที่เป็นผ้า หรือผ้าอ้อมสำเร็จรูปทีใช้แล้วทิ้งดี ผ้าอ้อมที่ทำด้วยผ้าจะมีการซักฟอกทำความสะอาด และสถานที่ตากผึ่งให้แห้ง การใช้ผ้าอ้อมซักได้จะถูกกว่าในระยะยาว ผ้าอ้อมใช้แล้วทิ้งก็สะดวด แต่ค่าใช้จ่านสูง การตัดสินใจขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อม และฐานะ ถ้ามีเครื่องซักผ้า และอบแห้งได้ การใช้ผ้าอ้อมซักได้ก็ดีกว่า แต่ถ้าไม่มีอาจจะใช้ร่วมกันได้คือ ใช้ผ้าอ้อมที่ทำด้วยผ้าในเวลากลางวันและใช้ผ้าอ้อมสำเร็จรูปในเวลากลางคืน เพื่อจะได้ไม่ต้องเปลี่ยนบ่อย
เด็กแรกเกิด ต้องหมั่นเปลี่ยนผ้าอ้อมบ่อย ๆ และผ้าอ้อมต้องไม่ระคายเคืองต่อผิวเจ้าตัวน้อย


3-5 เดือน เด็กจะเริ่มคลาน ต้องมันใจว่าผ้าอ้อมที่ใช้สามารถรองรับการเคลื่อนไหวได้ดี


6 เดือน เด็กมีการเคลื่อนไว้มากขึ้น ผ้าอ้อมจึงต้องกระชับใส่สบาย


18-24 เดือน คุณพ่อคุณแม่ส่วนใหญ่เริ่มฝึกลูกให้นั่งกระโถน ซึ่งระยะนี้เด็กพร้อมที่จะฝึกได้เป็นอย่างดี

ไม่ว่าคุณแม่จะเลือกใช้ผ้าอ้อมชนิดใด สิ่งสำคัญควรคำนึงถึงเรือ่งความสบายตัวของเด็ก โดยการเปลี่ยนผ้าอ้อมบ่อย ๆ เมื่อถอดผ้าอ้อมที่เปื้อนออกแล้ว ต้องเช็ดทำความสะอาดบริเวณรอยพับที่ต้นขาบริเวณภายนอกอวัยวะเพศ และบริเวณก้นลูกด้วยสำลีชุบน้ำสะอาด จากนั้นซับให้แห้ง ปล่อยให้ผิวลูกได้สัมผัสอากาศประมาณ 15-20 นาที แล้วถึงค่อยใส่ช้ินใหม่

ผื่นผ้าอ้อม
สาเหตุสำคัญมาจากความอับชื้น การหมักหมมปัสสาวะและอุจจาระ หรือสวมใส่ผ้าอ้อมที่เปียกชื้น ถ้าเป็นไม่มากจะเห็นว่ามีจุดเล็ก ๆ สีแดงที่ก้น ถ้ามีการติดเชื้อในบริเวณผิวที่แตก และอาจเป็นหนอง หากเด็กสวมใส่ผ้าอ้อมที่ซึมซับปัสสาวะเป็นเวลานานจนเกินไป จะทำให้เกิดก๊าซแอมโมเนียจากของเสีย ซึ่งก๊าซแอมโมเนียจะทำให้เกิดการระคายเคืองแก่ผิวเด็ก และมักเป็นสาเหตุของการเกิดผื่นผ้าอ้อม

วิธีรับมือผื่นผ้าอ้อม
1.เปลี่ยนผ้าอ้อมบ่อย ๆ ทุก 3-4 ชั่วโมง
2.หากแพ้ผ้าอ้อมธรรมดา ให้คุณแม่ลงหันมาใช้ผ้าอ้อมสำเร็จรูปสักพัก
3.ปล่อยให้เด็กได้ถูกอากาศประมาณ 15-20 นาที
4.ทาครีม หรือแป้งเพื่อป้องกัน เมื่อเด็กผิวแตก
5.คุณพ่อคุณแม่ควรล้างมือก่อนเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูกทุกครั้ง
6.ถ้าผ่านไป 2-3 วันแล้ว ผื่นยังไม่ลด หรือมีไข้ ควรพาไปพบแพทย์

วันศุกร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2554

เลือกผ้าอ้อมให้เจ้าตัวน้อย

ผ้าอ้อมจัดว่ามีบทบาทสำคัญมากในการเลี้ยงดูลูกน้อยในระยะ 2-3 ปีแรก การเปลี่ยนผ้าอ้อม การทำความสะอาด และการเลือกซื้อผ้าอ้อมนั้น จะกลายเป็นสิ่งปกติในการใช้ชีวิตประจำวันของคุณ แต่การตัดสินใจเลือกซื้อที่สำคัญ คือการเลือกชนิดของผ้าอ้อม

ผ้าอ้อมของเจ้าตัวน้อยที่คุณพ่อคุณแม่นิยมเลือกใช้มีอยู่ 2 แบบ คือ ผ้าอ้อมผ้ากันผ้าอ้อมสำเร็จรูป คุณอาจเลือกใช้ผ้าอ้อมผ้า หรือผ้าอ้อมสำเร็จรูป หรืออาจใช้ทั้งสองอย่างร่วมกันได้ แต่ไม่ว่าคุณจะดัดสินใจใช้แบบไหน ให้เลือกที่เหมาะกับเจ้าตัวน้อยมากที่สุด

ผ้าอ้อมผ้า
ทำจากผ้าเนื้อนิ่ง สวมใส่แล้วไม่ระคายผิว ระบายอากาศได้ดี เช่น ผ้าสาลู ผ้าฝ้าย ผ้าสำลี เย็บเก็บมุมเรียบร้อย ริมผ้าไม่เป็นขอบหรือสันแข็งกดทับให้เจ็บ หรือระคายเคือง คุณพ่อคุณแม่อาจจะเลือกซื้อแบบเย็บมี่วางขาย หรือซื้อผ้ามาเย็บเองก็ได้ ควรมีไว้สัก 20-30 ผืน เลือกขนาดที่เหมาะกับวัยและรูปร่างของเด็กด้วยเข็มกลัดที่ใช้คู่กับผ้าอ้อม ควรเลือกเข็มกลัดตัวใหญ่ สามารถกลัดแล้วปลายแหลมไม่ยื่นมาตำลูก ข้อดีของผ้าอ้อมผ้าคือ สามารถนำมาใช้ใหม่ได้หลายครั้ง ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย

ผ้าอ้อมสำเร็จรูป
ทำจากสำลีผนึกกับพลาสติกที่กันการรั่วซึม ไม่เลอะเทอะออกมาด้านนอกมีแถบกาวสะดวกเวลาสวมใส่ ใช้ง่ายไม่ต้องทำความสะอาดเพราะใช้ครั้งเดียวที้ง จุดเด่นของผ้าอ้อมชนิดนี้อยุ่ที่ความสะดวกสะบายในการใช้ แต่ราคาค่อนข้างสูงกว่าเมื่อเทียบกับผ้าอ้อมผ้า แม้จะเป็นผ้าอ้อมสำเร็จรูปใช้ง่าย และสะดวก ถ้าคุณพ่อคุณแม่ใช้ผ้าอ้อมอย่างถูกวิธี เจ้าตัวน้อยก็จะสบายตัว ไม่มีปัญหาผื่นผ้าอ้อมและอาการระคายเคื่องมารบกวน

วิธีการเลือกผ้าอ้อมสำเร็จรูป
เลือกขนาดพอเหมาะให้ดูที่น้ำหนักของเจ้าตัวน้อยว่าจะขนาดใด ที่ข้างห่อผลิตภัณฑ์จะมีอธิบายไว้ เรื่องขนาดถือเป็นเรื่องสำคัญ เพราะถ้าคับไปก็จะรัด หลวมไปก็จะเกิดการสีจนเป็นแผล ใส่ให้พอดี ให้คุณพ่อคุณแม่สังเกตุว่าของด้านบนของผ้าอ้อมจะได้ระดับเอวเมื่อติดแถบกาวแล้วกระชับพอดีกับต้อนขาของเด็ก เอียงไปข้างใดข้างหนึง อย่าลือเปลี่ยนผ้าอ้อมบ่อย ๆ ผ้าอ้อมซึมซับได้ดี แต่จะใช้ได้ประมาณครั้งละ 3-4 ชั่้วโมง คุณพ่อคุณแม่ต้องหมั่นคอยเปลี่ยน ถ้าลูกอึก็ให้เปลี่ยนทันที

วันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2554

การนอนอย่างปลอดภัย

การนอนอย่างปลอดภัย
Sudden infant Death Syndrome (SIDS)
คือ การที่เด็กเสียชีวิตในขณะนอนหลับ ซึ่งเกิดขึ้นกับพ่อแม่หลายราย ปัจจุบันยังคงมีการวิจัยหาสาเหตุ คำแนะนำต่อไปนี้สามารถลดความเสี่ยงที่สามารถเกิดขึ้นได้

-ให้เด็กนอนหงายหน้า
-ที่นอนฟูก ไม่ควรนิ่มจนเกินไป และต้องสะอาด
-อย่าให้มีสุ่งใดปิดศรีษะในขณะที่เด็กนอน
-อย่าให้เด็กรู้สึกร้อนจนเกินไป
-นำสิ่งของต่าง ๆ ออกจากที่นอน ฟูก ไม่ว่าจะเป็น ของเล่น หรือตุ๊กตาผ้า
-งดสูบบุหรี่ในระหว่างตั้งครรภ์ และไม่อนุญาติให้ผู้สูปบุหรี่อยู่ใกล้กับเด็ก
-เมื่อเด็กง่วงนอนให้พาเด็กเข้านอนทันที
-กลิ่นกายของคุณสร้างความรู้สึกอุ่นใจให้แก่เด็กได้ ควรวางสิ่งของ เช่น ที่ปิดหัวนมไว้ในที่ที่เด็กนอน
-ไม่ควรให้ห้องที่เด็กนอนนั้นเงียบสนิท ควรให้เด็กได้ยินเสียงที่ทำให้เด็กรู้สึกว่ามีคุณอยู่ข้าง ๆ

การแก้ปัญหาเกี่ยวกันการนอน
บอกเด็กว่าถึงเวลาเข้านอนแล้ว คุณจะออกไปจากห้องนี้ แต่ยังคงอยู่ใกล้ ๆ เขา แล้วออกจากห้อง ถึงแม้ว่าเด็กอาจจะเล็กมา แต่เขาสามารถเข้าใจถึงน้ำเสียงและสิ่งที่คุณพูด รวมทั้งการกระทำของคุณด้วย ถ้าเด็กยังร้องไห้อีก ทิ้งเขาไว้ประมาณ 5 นาที แล้วค่อยกลับไปดู อย่าอุ้มเขา หรือพาเขาออกจากห้อง อย่าเปิดไฟ ลูบใบหน้าและมือของเขา ให้คุณพูดประโยคเดิมแล้วเดินออกจากห้อง ถ้าเด็กยังคงร้องไห้ ให้ทิ้งเขาไว้นานกว่าเดิมเล็กน้อย ทำเช่นเดิมจนกระทั่งเขาหลับไปเอง

วันพุธที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2554

เด็กกับการนอน

การที่เด็กนอนหลังสนิทตลอดคืนโดยไม่ร้องรบกวน ถ้าเด็กตื่นขึ้นในช่วงสั้น ๆ เด็กสามารถนอนต่อเองโดยไม่ตื่นลืมตาร้องให้ส่งเสียงดัง จำนวนครั้งที่เด็กตื่นขั้นในช่วงกลางคืนนั้น จะแตกต่างกันอย่างมากในเด็กต่ละคน แต่หลังจาก 6 เดือนแรก ถ้าอัตราการตื่นขั้น และร้องไห้รบกวนของเด็กยังไม่ลดลง คุณควรปรึกษากุมารแพทย์

การสร้างนิสัยการเข้านอน
ขั้นตอนต่อไปนี้สามารถช่วยคุณสร้างนิสัยในการเข้านอนตามเวลาแก่เด็กได้
-พยายามพาเด็กเข้านอนให้เป็นเวลาในสถานที่เดิม ๆ
-ช่วยให้เด้กสามารถแยกแยะช่วงเวลากลางคืน และกลางวันได้ โดยการสร้างความคุ้นเคย เช่นอาบน้ำ เปลี่ยนชุดนอน ร้องเพลงกล่อม ปิดไฟภายในห้อง และทำสิ่งที่ต่างไปในช่วงเช้า เช่น พาเขาไปนอนอีกห้องหนึ่ง
-เลี้ยงดูเด็กให้มีความแตกต่างกันในช่วงเวลากลางวันและกลางคืน ในตอนกลางวันนั้น เล่น พูดคุยกับเขา ส่วนกลางคืน สร้องบรรยากาศให้เงียบ ให้เด็กกินนม

วันอังคารที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2554

Baby signs ภาษาเจ้าตัวน้อย

ภาษาท่าทางของเจ้าตัวน้อย เป็นเหมือนเครื่องมือสื่อสารที่ทำให้พ่อแม่เข้าถึงความต้องการของลูก และคุณแม่สามารถเรียนรู้ได้ นอกจากนี้ ท่าทางที่คุณแม่คิดขึ้นเองอย่างง่าย ๆ ก็เป็นเหมือนภาษาท่าท่างระหว่างแม่กับลูก ที่จะสื่อสารกัน เพราะที่จริงแล้วคุณพ่อคุณแม่ก็ทำเป็นปกติอยู่แล้ว เช่น ท่าสวัสดี ท่าบ๊ายบาย หรือท่าจุ๊บปาก ถึอว่าเป็นท่าง่าย ๆ ที่เด็กจะเรียนรู้ และทำได้ แต่ต้องทำอย่างต่อเนื่อง

เริ่มต้นง่าย ๆ จากชีวิตประจำวันของลูก
1.ร้องอย่างหงุดหงิด เป็นจังหวะถี่ บอกให้รู้ว่า หิวแล้ว
2.ตาหลับ ๆ ตื่น ๆ ขยี้ตา บอกให้รู้ว่า ง่วงนอน
3.ร้องไป ดิ้นไป บอกให้รู้ว่า ผ้าอ้อมแฉะ
4.ร้องคราง สะอื้น ยื่นแขน บอกให้รู้ว่า อย่ากให้อุ้ม รู้สึกเบื่่อ
5.กรีดร้อง พยายามผละจากออก บอกให้รู้ว่า โกรธ
6.ร้องเสียงสูง ต่อเนื่องกัน บอกให้รู้ว่าไม่สบาย

ท่าดื่ม หรือ หิว ก่อนให้ขวดนม คุณแม่ทำท่าเอามือใส่ไว้ที่ปากทำสักสองหรือสามครั้ง เขาก็จะเรียนรู้และหลังจากนั้น เวลาที่หิว เจ้าตัวน้อยก็จะสื่อสารด้วยท่าดื่ม และเริ่มใช้ท่าดื่มบอยขึ้น

ท่านอน เวลาที่เจ้าตัวน้อยง่วงนอน ให้คุณแม่ทำท่าขยี้ตา และหาว มือแนบแก้มเป็ฯสัญญานให้ลูกรู้ว่าถึงเวลานอนแล้ว

เทคนิควิธีการสอน Baby signs
เริ่มจากฝึกครั้งนะน้อย เช่นสอนเรื่องการกินก่อน ควรสอนท่าทางและพูดไปพร้อม ๆ กัน ทำบ่อย ๆ ขณะที่สอนควรชี้ไปที่สิ่งของด้วย จับมือเจ้าตัวน้อยให้ทำตามไปด้วยเพื่อกระตุ้นพัฒนาการ สามารถสร้างสัญลักษณ์ขึ้นมาได้เอง เพื่อให้ลูกรู้สึกภูมิใจ คิดเป็นเรื่องสนุกสำหรับคุณ และเจ้าตัวน้อย

วันจันทร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2554

สัมผัสนวดตัวให้เจ้าตัวน้อย

สบายเนื้อสบายตัวด้วยการนวด
การได้สัมผัสนวดตัวให้เจ้าตัวน้อย นอกจากนะทำให้สะบายตัวแล้ว ยังทไให้เลือดไหลเวียนดี ช่วยกระตุ้นกล้ามเนื้อต่าง ๆ ที่สำคัญ วิธีนี้ยังสร้างสายใยความผูกพันระหว่างคุณแม่และเจ้าตัวน้อยได้ดีอีกด้วย


เอามือทั้งสองข้าวางแนบศรีษะลูก นวดวนเบา ๆ 2-3 ครั้ง ให้ลูกรู้สึกผ่อนคลาย


มือวางที่หน้าอง นวดวนตามเข็นนาฬิกาช้า ๆ 3 รอบ


นวดมือ ให้จับที่ข้อมือเด็ก แบมือออก นวดที่ฝ่ามือแล้วค่อย ๆ นวนทีละนิ้ว ทำทั้งสองข้าง



นวดขา และเท่า ลูบขาลงมาจนถึงปลายเท้า คลึงที่ปลายเท้า และนิ้วเบา ๆ ทำทั้ง 2 ข้าง

วันเสาร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2554

การ้องไห้ของลูกน้อย

การร้องไห้
การร้องไห้จัดได้ว่าเป็นการสื่อสารอย่างหนึ่ง และเป็นการร้องเรียกความสนใจ จากการศึกษาพบว่า เมื่อผู้ใหญ่ได้ยินเสียงร้องไห้ของเด็ก มักมีความเครียดทางร่างกายเกิดขึ้น รวมไปถึงมีระดับความดันโลหิตสูงขึ้น หรือผู้เป็นปม่อาจมีน้ำนมไหลออกมา
เป็นเรืองยากที่จะเข้าใจไ้ดว่าการร้องไห้ของเขาหมายถึงสิ่งใด คุณจำเป็นต้องพยายามเข้าใจ และแยกแยะถึงเสียงร้องไห้ที่เกิดขึ้นว่า ตอนนี้เขาหิวหรือต้องการถูกสวมกอดกันแน่ มันไม่ใช่ความผิด เมื่อคุณไม่เข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้น มันเป็นสิ่งที่เกิดกับผู้เป็นพ่อ และแม่ทุกคน ดังนั้นการที่เด็กร้องไห้นานมากน้อยแค่ไหนนั้นเป็นสิ่งที่คุณไม่สามารถล่วงรู้ได้ คุณอาจโชคดีที่เด็กนั้นสงบลงได้อย่างง่ายดาย หรือเป็นเด็กที่ไม่งอแงนัก

ตัวการทำลูกร้อง
ความหิว
เด็กอาจร้องไห้เป็นจังหวะ โดยเริ่มร้องด้วยเสียงที่แหลมดังและดังขึ้น นั่นหมายความว่าเขากำลังหิว ถึงแม้ว่าคุณเพิ่มให้น้ำนมแกเขา ไปเมื่อไม่นาน แต่เขาอาจต้องการมันเพิ่มอีก เพราะเด็กจะกินนมได้ครั้งละไม่มาก และนมแม่ยังย่อยง่าย โดยปกติแล้วในระยะ 1-2 สัปดาห์แรกคุณอาจต้องให้น้ำนมแก่เด็กประมาณ 6-10 ครั้ง/วัน ซึ่งเป็นปริมาณที่เหมาะสมต่อแม่และเด็ก ถ้าน้อยกว่า 6 ครั้ง/วัน จัดว่าน้อยเกินไป หากคุณและเด็กแข็งแรงดี สามารถให้น้ำนมได้มากกว่า 6 ครั้ง/วัน ถ้าคุณมีข้อส่งสัย ควรสอบถามพยาบาลผดุงครรภ์ ทั้งนี้อาจจะน้อยหรือมากกว่านี้ได้ แต่ไม่ควรกำหนดให้เด็กรับน้ำนมทุก 4 ช.ม.

ผ้าอ้อมแฉะ
เด็กเล็ก ๆ นอกจากกินบ่อยแล้ว ยังฉี่ และอีบ่ายครั้ง การที่ผ้าอ้อมเปียกชื้้นทำให้ลูกน้อยไม่สบายตัว เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้เด็กร้องไห้งอแง ถ้าลูกร้อง คุณพ่อคุณแม่อย่าลืมดูที่ผ้าอ้อมด้วยว่าเปียกชื้นหรือเปล่า

ความเจ็บปวด
เด็กเริ่มร้องไห้ โดยการแผดเสียงร้องที่แหลมสูง และอาจ หยุดสักเล็กน้อยเพื่อหายใจและร้องไห้ต่อให้หาสาเหตุที่สร้างความรำคาญให้แก่เขา ถ้าไม่พบสาเหตุให้ปรึกษากุมารแพทย์

เมือรู้สึกร้อนหรือเย็นจนเกินไป
เด็กแรกเกิดชอบอากาศที่อบอุ่น และความสะบายตัว ดังนั้นควรเปลี่ยนผ้าอ้อมหรือเสื้อผ้า ให้เขาบ่อย ๆ ถ้าคุณทำอย่างนี้เป็นประจำ การร้องไห้ในเด็กก็จะลดลง

ต้องการคนปลอบใจ
เด็กอาจต้องการความใส่ใจ หรือการสวมกอดแน่น ๆ การอุ้มเขาไว้ การร้องเพลง หรือการส่งเสียงปลอบใจ อาจทำให้เขาสงบลงได้


วันศุกร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2554

ขั้นตอนในการเลือกผ้าอนามัยสำหรับคุณแม่หลังคลอด

การเลือก
-ผิวหน้าของผ้าอนามัย ควรให้สัมผัสนุ่ม ไม่ระคายเคืองต่อผิวที่บอบบาง
-มีประสิทธิภาพในการซึมซับของเหลวได้ปริมาณมาก และต่อเนื่อง
-สามารถป้องกันกระจายตัวของประจำเดือนที่มามากได้อย่างรวดเร็ว พร้อมป้องกันการซึมเปื้อนได้รอบด้านทั้งด้านข้าง และด้านหลัง และกระชับกับสรีระ
-ห่อบรรจุภัณฑ์ถูกสุขลักษณะเพื่อป้องกันแบคทีเรีย เชื้อรา และความเปียกชื้น

วันพฤหัสบดีที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2554

อารมณ์เปลี่ยนแปลงหลังคลอด

การปรับตัวสู่การเป็นแม่จะทำให้คุณรู้สึกแย่ คุณจะประสบกับความแปรปรวนทางอารมณ์ (Baby blue) ซึ่งเป็นปฏิกิริยาที่เกิดตามธรรมชาติมักเกิดขึ้นในช่วง 2-3 สัปดาห์แรกหลังคลอด

ทำอย่างไรเมื่อคุณแม่ซึมเศร้า
1.อย่ากังวลในสิ่งที่ไม่ควรกังวล
2.พักผ่อนให้เพียงพอ
3.ออกกำลังเบาๆ
4.กินอาหารที่มีประโยชน์
5.ระบายความรู้สึกออกมา ไม่ควรเก็บไว้คนเดียว

ดูแลจุดซ่อนเร้นหลังคลอด
น้ำคาวปลา
สำหรับคุณแม่ที่เพิ่งคลอดช่วงแรก ที่น้ำคาวปลาออกมา จะมีสีแดงสดคล้ายประจำเดือนในวันมามาก อย่ากังวล เป็นเรื่องปกติ จากนี้ไปน้ำคาวปลาจะค่อย ๆ ลดลง และจะหมดลงไปในระยะเวลา 2-3 อาทิตย์ถึง 1 เดือน

ประจำเดือน หลังคลอด ประมาณ 6 สัปดาห์ ร่ายกายคุณแม่จะเริ่มปรับสภาพให้เหมือนก่อนตั้งครรภ์ จากนี้ไป โอกาศที่ประจำเดือนจะมาก็เกิดขึ้นได้ ระยะเวลาขึ้นอยู่กับการให้นมเด็ก แต่ละคนก็มาเร็ว มาช้าบ้าง แตกต่างกันไป

วันพุธที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2554

ของใช้สำหรับเจ้าตัวน้อย

คุณแม่มือใหม่ควรเตรียมของใช้จำเป็นบางส่วนสำหรับเจ้าตัวน้อยไว้ แต่เนิ่น ๆ เพื่อความสะดวกหลังจากพาเจ้าตัวน้อยกลับบ้าน

ผ้าอ้อม
เด็กมีความจำเป็นต้องใช้ผ้าอ้อม ควรเลือกใช้ผ้าอ้อมที่เหมาะสมกับอากาศบ้านเรา

เสื้อผ้าเด็ก
เลือกเสื้อผ้าให้เหมาะสมกับอากาศ ไม่ต้องซื้อเยอะ และควรเผื่อขนาดไว้เล็กน้อย เพราะเด็กโตเร็ว


ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก
อาทิ แชมพู สบู่ น้ำยาซักผ้า แป้ง ครีบบำรุงผิว กรรไกรตัดเล็บ หวี ปรอทวัดไข้ สำลี และคัตตอนบัต ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่เป็นผลิตภัณฑ์ของเด็กเท่านั้น

อ่างออบน้ำ
ควรเลือกอ่างที่ทำจากพลาสติก และสามารถวางบนเครื่องสุขภัณฑ์แบบเป่าลมได้ หรือที่ติดไว้กับอ่างน้ำที่มีพนักพิงพยุงตัวเด็กไว้ ไม่ต้องใช้มือจับ

เตียงนอน
การจัดที่นอนเป็นสัดส่วน นับเป็นการป้องกันอันตราย ควรเลือกเตียงที่แข็งแรง และปลอดภัยที่นอนให้พอดีกับเตียง ช่องระหว่างราวกั้นต้องไม่ห่างกันมาก

วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2554

พัฒนาการของเจ้าตัวน้อย

ส่วนสูง
ส่วนสูงของเด็กไม่ควรต่ำกว่าเส้นล่าง หรืออาจอยุ่ระหว่าเส้นบนหรือล่าง หากไม่ตรงกับลูกน้อย ท่านไม่ต้องกังวล เด็กแต่ละคนย่อมมีพัฒนาการต้านส่วนสูงไม่เท่ากัน



น้ำหนัก
น้ำหนักของเด็กน้อยไม่ต่ำกว่าเส้นล่าง หรืออาจอยู่ระหว่างเส้นบนหรือล่าง ซึ่งจัดว่ามีพัฒนาการที่ปกติ
น้ำหนักลดเป็นเรื่องปกติ เด็กจะมีน้ำหนักลงถึง 10 เปอร์เซนต์ในระยะ 5 วันแรกหลังจากคลอด อาจเกิดการสูญเสียน้ำ หรือการไม่ได้รับสารอาหาร ในขณะที่เด็กได้รับนมจากอกแม่จะทำให้เขามีน้ำหนักเพิ่มขึ้นภายใน 10-14 วัน น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นจะอยู่ที่สัปดาห์ละ 150-200 กรัม

วันจันทร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2554

ร่างกายของลูกน้อย

ศรีษะ
กะโหลกศรีษะของเด็กนั้น ประกอบไปด้วยกระดูกอ่อน จะวางซ้อนกัน สังเกตุได้จากสันยาวที่อยู่ ด้านข้างของศรีษะ ซึ่งกะโหลกศรีษะจะมีรูปร่างกลมขึ้นภายใน 48 ช.ม. และใช้เวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์ จึงจะมีรูปร่างเป็นปกติ

ลำตัว
เส้นรอบวงของขนาดหน้าอกจะเล็กกว่าเส้นรอบวงขนาดศรีษะ ส่วนของท้องจะดูมีขนาดใหญ่ และกว้าง เพราะว่ากล้ามเนื้อหน้าท้องยังไม่เจริญเติบโตเต็มที่ ความยาวของช่วงตัวของเด็กแต่ละคนจะมีความแตกต่างกันค่อนข้างมาก ความยาวเฉลี่ยจะอยู่ที่ 50 ซ.ม. และ 95 เปอร์เซนต์ของเด็กเกิดใหม่จะมีความยาวประมาณ 46-55 ซ.ม. เด็กชายมักมีช่วงตัวยาวกว่าเด็กหญิงเฉลี่ยประมาณ 1.3 ซ.ม.

ดวงตา
ดวงตาเด็กอาจดูโปน เพราะการหดตัวของหนังตาระหว่างคลอด หรืออาจมีรอยสามเหลี่ยมสีแดงในตาขาว แต่ไม่เป็นอันตราย ซึ่งก็ไม่ได้ทำให้เขาหมดความตั้งใจที่จะมองดูโลกใบนี้ ตวงตาของเด็กเล็ก ๆ จะมีขนาดเพียงหนึ่งในสามของขนาดตา ผู้ที่มองเห็นวัตถุได้ดีในระยะ 20-60 ซ.ม.

ใบหน้า
ใบหน้าของเด็กแรกเกิดจะดูอูม ๆ อาจมีบางส่วนบวม ๆ จากการคลอดสักพัก จะกลับสู่สภาพปกติ

มือ
เด็กแรกเกิดมักจะงอฝ่ามือเข้า แต่ถ้าใส่นิ้วมือคุณในฝ่ามือเขาจะกำมือโดยอัตโนมัติ

แขน
เด็กอาจเกร็งแขนเมื่อคุณป้อนนม ถ้าคุณจับเขานอนคว่ำ เด็กจะแสดงท่าคล้ายคลานอัตดนมัติ การดึงขาเขาลงจะทำให้เกิดท่าคลาดที่ไม่สมบูรณ์ เด็กแรกเกิดมักจะงอฝ่ามือเขา แต่ถ้าใส่นิ้วมือของคุณลงในฝ่ามือของเขา เขาจะกับมือโดยอัตโนมัติ

หู
ใบหูจะมีขนาดเล็กมาก การเจริญเติมโตภายในหูยังไม่สมบูรณ์เต็มที่ จึงเป็นเรืองยากที่เขาจะสามารถได้ยินเสียงสิ่งต่าง ๆ ในช่วงหนึงเดือนแรก เพราะเด็กส่วนใหญ่มักมีการเคลื่อนใหวโดยการลืมตากว้างเมือได้ยินเสียงที่น่าสนใจ

เท้า
เท้ายืดหยุ่นได้ดี และแข็งแรงเมื่อนำนิ้วแตะเบา ๆ ที่ข้างเท้า นิ้วเท้าจะเกร็งโดยอัตโนมัติ

ขา
เท้าจะยืดหยุ่นได้กีแต่มีความแข็งแรง ถ้าอุ้มเขายืนขึ้นให้เท่าสัมผัสกับพื้น เด็กจะก้าวขาโดยอัตโนมัติ นอกจากนี้เมื่อนำนิ้วแตกเบา ๆ ที่ข้างเท้า นิ้วเท่าจะเกร็งโดยอัตโนมัติ

สะดือ
การผูกสายสะดือมักถูกยึดด้วยตัวหนีบ ตัดให้มีความยาวเพียง 2 ซ.ม. จากสะดือ ตัวหนีบพลาสติดจะถูกถอดออกเมื่อมีอายุประมาณ 24-48 ซ.ม. ส่วนที่ผูกไว้จะแห้ง มีสีดำ และหลุดออกเองภายใน 2-3 สัปดาห์ เป็นการหลุดออกโดยธรรมชาติ หรือ อาจมีเลือดออกเพียงเล็กน้อย การติดเชื้อเป็นไปได้ยาก แต่ถ้าสังเกตเห็นหนองสีขาวมีกลิ่นเหม็น สะดือบวม หรือมีสีแดง ให้นำเด็กไปพบกุมาณแพทย์

ตำหนิและปาน
ความเป็นจริงแล้วเด็กแทบทุกคนจะมีปานที่ร่างกาย มันจะจางหายไปภายใน 3 ปี มักพบในเด็กแรกเกิดมีลักษณะเป็นปื้นสีแดง มักเกิดที่ระหว่างตาทั้งสองข้าง เปลือกตา และก้านคอ แต่จะจางหายไปภายในขวบปีแรก สำหรับเด็กบางคนอาจพัฒนาจนมีขนาดใหญ่ขึ้นในระยะ 2-3 เดือนแรก เรียกว่า "สตรอเบอรี่ มาร์ค"(Strawberr marks) และในที่สุดจะจางหายไปโดยไม่มีความจำเป็นต้องได้รับการรักษา ถ้ารู้สึกกังวลควรปรึกษากุมารแพทย์

อวัยวะเพศ
เด็กชาย : ลูกอัณฑะอยู่ในถุงอัณฑะเรียบร้อยแล้ว บางคนจะลงมาเพียงข้างเดียว แต่จะติดตามมาอีกข้างหนึ่ง ส่วนปลายขององชาติยังปิดอยุ่
เด็กหญิง : อวัยวะเพศอาจมีสีคล้ำ บวมเล็กน้อย เกิดจากฮอร์โมนแม่ที่ยังค้างอยุ่ในตัวเด็ก จะหายไปภายใน 1-2 สัปดาห์

วันอาทิตย์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2554

ปฏิทินตั้งครรภ์สำหรับคุณแม่

ช่วงแรกของการตั้งครรภ์
สัปดาห์ที่ 1-เตรียมตัวที่จะมีลูก ควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงอย่างน้อย 2-3 เดือนก่อนตั้งครรภ์

สัปดาห์ที่ 2-ช่วงตกใข่ ฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นตัวเร่งให้ไข่สุก ร่างกายผลิตฮอร์โมนเจสเตอโรนเข้ากระแสเลือด ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกหนาขึ้น รอเวลาตัวอ่อนมาฝังตัว

สัปดาห์ที่ 3-ช่วงฝังตัว หลังปฏิสนธิไข่ที่ผสมแล้ว จะไปฝังตัวในผนังมดลูก อาจมีเลือดออกทางช่องคลอดในปริมาณเล็กน้อย อย่าตกใจ กระแสเลือดทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกหนาขึ้น รอเวลาตัวอ่อนมาฝังตัว

สัปดาห์ที่ 4-ประจำเดือนขาด หลังฝังตัวในผนังมดลูก ตัวอ่อนจะหลั่งฮอร์โมนตั้งครรภ์เข้าไปในกระแสแลือดของคุณแม่ จะมีอาการวิงเวียน พะอืดพะอม เป็นลมหน้ามืด พักผ่อนให้มาก หลีกเลี่ยงการเดินทางไกล ธาตุเหล็กจำเป็นมากสำหรับคุณแม่และเด็ก

สัปดาห์ที่ 5-ได้เวลาฝากท้อง อาการต่าง ๆ จะทำให้คุณเร่มรู้ตัวว่ามีเจ้าตัวน้อยในท้องคุณ ควรไปฝากครรภ์ คุณหมอจะนับอายุครรภ์ นับจากวันแรกที่ประจำเดือนขาด พร้อมกำหนดวันคลอด

สัปดาห์ที 6-แพ้ท้อง ตัวอ่อนเริ่มมีการเจริญเติบโตอย่างเต็มที่ อาการแพ้ต่าง ๆ จะเกิดขึ้นในช่วงนี้ ส่วนลูกน้อยตัวยาว 0.5 ซ.ม. เริ่มสร้างอวัยวะต่าง ๆ มีระบบย่อยอาหาร และหัวใจ

สัปดาห์ที่ 7-ครรภ์สมบูรณ์ ผนังมดลูกจะอ่อนตัวลงเพื่อให้ตัวอ่อนฝังตัวลงไปอย่างเหนียวแน่น เยื่อที่ปากมดลูกจะหนาขึ้น ก่อตัวเป็นก้อนลิ่ม ปิดท่อมดลูก ป้องกันเชื้อโรคเข้าไป ควรดูแลช่องคลอดได้ดี

สัปดาห์ที่ 8-ไปพบคุณหมอเพื่อตรวจความปลอดภัยของครรภ์ แพ้ท้อง ส่วนลูกน้อยตัวยาว 2 เซนติเมตร เริ่มเห็นรุปชัดเจน

สัปดาห์ที่ 9-ผิวหนังเริ่มตึงบวม เต้านมขยาย คัดหน้าอก ต้องหาชุดชั้นในที่เหมาะกับสรีระที่เปลี่ยนแปลง นอกจากนี้จะมีของเหลวไหลออกทางช่องคลอด ไม่ต้องตกใจ

สัปดาห์ที่ 10-ต่อมไทรอยด์บวม ฮอร์โมนจากต่อมไทรอย์มีผลต่อพัฒนาการหลังคลอดในเรื่องของความคิด พฤติกรรม และการเคลื่อนไหว

สัปดาห์ที่ 11-น้ำหนักควรเพิ่มขึ้นสัปดาห์ละ 0.5-1 ก.ก. ในช่องเดือนที่ 4-8 ของการตั้งครรภ์ หลังจากนี้น้ำหนักของคุณจะคงที่ไปจนคลอด

สัปดาห์ที่ 12-พ้นช่วงเสี่ยงต่อการแท้ง เจ้าตัวน้อยมีอวัยวะทุกอย่างครบถ้วนแล้ว ความยาวศรีษะถึงสะโพก 9 ซ.ม.สามารถรับรู้ตอบสนองสิ่งเร้าภายนอกได้บ้าง

สัปดาห์ที่ 13-อาการแพ้ท้องค่อย ๆ หายไป ความรู้สึกอัดอัดจะกลับมาใหม่ เพราะขนาดของเจ้าตัวน้อยในท้องเริ่มโตขึ้น ควรทานอาหารที่มีประโยชน์

ช่วงที่ 2 ของการตั้งครรภ์

สัปดาห์ที่ 14-ฮอร์โมนสูงขึ้น ทำให้คุณมีอารมณ์ทางเพศสูงกว่าปกติ การมีบทรักจะร้องอยู่ในท่าที่ปลอดภัย

สัปดาห์ที่ 15-ท้องใหญ่ขึ้น ควรหาชุดคลุมท้องมาใส่ เลือกแบบที่ไปร่งสบาย เหมาะกับสรีระของคนตั้งครรภ์

สัปดาห์ที่ 16-อัลตราซาวด์ ไปพบคุณหมอเพื่อตรวจความสมบูรณ์ของเด็ก เช่นตรวจเลือด อาการดาวน์หรือปัญญาอ่อน ส่วนลูกน้อยหนัก 1 ขีดกว่า ๆ อวัยวะสมบูรณ์ขึ้นเรื่อย ๆ สามารถมองเห็นอวัยวะเพศได้ชัดเจน หายใจได้แล้ว

สัปดาห์ที่ 17-หัวใจคุณทำงานหนักขึ้น สอดคล้องกับเจ้าตัวน้อย อาจมีเลือดกำเดาไหล เหงือกบวม ควรไปพบแพทย์ เช็คสุขภาพฟันเสมอ

สัปดาห์ที่ 18-ขนาดมดลูกใหญ่มากขึ้น จะไปกดทับบริเวณลำไส้ ทำให้ระบบย่อยอาหารข้าลง อาจทำให้คุณมีอาการริดสีดวงทวารขึ้นได้ ควรรับประทานผักผลไม้ หรืออาหารที่มีไฟเบอร์สูง

สัปดาห์ที่ 19-นำหนักคุณจะเพิ่มขึ้นเฉพาะที่ เช่น ก้น สะโพก และท้อง มดลูกที่ใหญ่และน้ำหนักตัว มีผลต่อการเคลื่อนไหวร่างกาย ควรหาหมอนหนุนที่ขา ไม่ควรก้มเก็บของ

สัปดาห์ที่ 20-มดลูกขยายมากขึ้น ทำให้เบียดช่องปอด ทำให้หายใจขัด เมื่อมีอาการให้นั่งพัก หายใจช้า ๆ ส่วนลูกน้อยหนัก 3 ขีด มีขนอ่อนปกคลุมตามตัว มีเส้นผมบาง ๆ ดิ้นได้แล้วนะ

สัปดาห์ที่ 21-คุณแม่จะมีอาการโลหิตจาง เป็นเรื่องปกติ แต่ควรไปพบแพทย์ตรวจดูว่าร่างกายได้รับธาตุเหล้็กเพียงพอที่จะไม่ทำให้เกิดภาวะโลหิตจาง จนเข้าขั้นอันตราย

สัปดาห์ที่ 22-ลูบคลำชิ้นส่วนต่าง ๆ ในร่างกายของเจ้าตัวน้อย พร้อมกับพูดคุย ส่วนลูกน้อยจะใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้ การยืดหยุ่นแขนขา การเคลื่อนไหวระหว่างส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

สัปดาห์ที่ 23-มดลูกหดตัว ไม่มีอาการเจ็บ เป็นการเตรียมร่างกายสำหรับการเจ็บท้องคลอด

สัปดาห์ที่ 24-มีอาการปวดหลัง ปัญหากระเพาะปัสสาวะ ปวดเท้า ควรเลือกรองเท้าที่สวมใส่สบาย แลุควรบริหารเท้าด้วย ส่วนลูกน้อย ตัวกับศรีษะมีขนาดสมดุลกัน หลับตา ลืมตาได้แล้ว มีลายมือ

สัปดาห์ที่ 25-ไปพบแพทย์ ตรวจเลือดปัสสาวะเพื่อหาอาการครรภ์เป็นพิษ

สัปดาห์ที่ 26-ครรภ์โตขึ้น จะมีอาการไม่สบาย เช่น ตะคริวที่ขา ปวดศรีษะ ปวดรอบ ๆ อุ้งเชิงกราน ส่วนลูกน้อยจะเคลื่อนไหวมากขึ้น จำนวนครั้งที่ดิ้นมาก สามารถบอกได้ว่ามีสุขภาพดี

ช่วงที่ 3 ของการตั้งครรภ์

สัปดาห์ที่ 27-เต้านมมีน้ำสีเหลืองข้น ซึ่งเป็นน้ำนมแรกที่ไหลออกมา ควรใส่แผ่นซับน้ำนมไว้ป้องกันการเปื้อน

สัปดาห์ที่ 28-คุณหมอตรวจสอบภูมิต้านทานในร่างกายคุณ พยายามทานแคลเซียม เพื่อช่วยการเติมโตของเจ้าตัวน้อย ส่วนลูกน้อยหนัก 1 ก.ก. มีไขมันเกาะตามตัว ระบบประสาท กล้ามเนื้อ ประสาททั้ง 5 พัฒนาสมบูรณ์

สัปดาห์ที่ 29-ปรึกษาแพทย์ถึงวิธีการคลอดรายละเอียดเกี่ยวกับการคลอด

สัปดาห์ที่ 30-มีอาการปวดหลัง เอ็นยึดและกล้ามเนื้อบริเวณหลังคลายตัว

สัปดาห์ที่ 31-มีน้ำหนักเฉลี่ย 2-6-9.1 ก.ก. ถ้ามากหรือเกินควรกินอาหารที่มีประโยชน์ แต่ไม่ควรลดน้ำหนัก

สัปดาห์ที่ 32-ศรีษะเด็กจะเคลื่อนลง มีลำตัวใหญ่ขึ้น ทำให้รู้สึกเจ็บชายโครง เกิดเส้นเลือดขอด ไม่ควรสวมแหวนและไม่สวมเสื้อผ้าคับ ส่วนลูกน้อยตัวยาว 30 ซ.ม. หนักเกือบ 2 ก.ก. กระดูกแข็งแรง อวัยวะครบถ้วน

สัปดาห์ที่ 33-ภาวะโลหิดจางลดลง ปัสสาวะบ่อยขึ้น ควรเลิกทานธาตุเหล็กตั้งแต่ตอนนี้ เพราะธาตุเหล็กสูงในร่างกายทำให้มีปัญหาท้องผูก

สัปดาห์ที่ 34-รู้สึกเกร็งที่ยอดมดลูก หลายคนมักเข้าใจว่าเป็นการเจ็บคลอดจริง หากมีของเหลวไหลออกมาต้องไปพบแพทย์ทันที ถ้ามีแนวโน้มคลอดก่อนกำหนด แพทย์จะทำการเจาะตรวจน้ำคร่ำ เพือดูการเจริญเติบโตของปอดเด็ก

สัปดาห์ที่ 35-จะรู้สึกคลื่นไส้ วิงเวียน ควรพักมาก ๆ เตรียมซื้อของใช้ไว้เนิ่น ๆ เป็นการลดความวุ่นวายในวันคลอด

สัปดาห์ที่ 36-ยอดมดลูกขยับขึ้นสูง ทำให้หายใจขัดมากขึ้น เจ็บชายโครง ต้องไปพบแพทย์ทุกสัปดาห์ เตรียมแผนการคลอด ส่วนลูกน้อยหมุนศรีษะไปทางช่องคลอด

สัปดาห์ที่ 37-ศรีษะเคลื่อนมาที่อุ้งเชิงกรานทำให้รู้สึกโล่งที่ชายโครง หายใจสะดวก ทานอาหารคล่องคอ ปัสสาวะบ่อยขึ้น ส่วนลูกน้อยเท้าแตะที่ปลายกระดูกสันอก

สัปดาห์ที่ 38-มีการเจ็บเตือนก่อน แต่การเจ็บครรภ์เตือนและจริง จะแรงประมาณเดียวกัน แต่การหดรัดตัวไม่เป็นจังหวะสม่ำเสมอ และจะหายเมื่อคุณเคลื่อนไหว หากไม่แน่ใจ สามารถไปพบแพทย์ก่อนได้

สัปดาห์ที 39-การหดรัดตัวของมุดลุกแรงขึ้น เป็นจังหวะสม่ำเสมอ เป็นสัญญาณการคลอด สัญญาณอื่น ๆ ถุงน้ำคร่ำแตก ของเหลวไหลออกมา เลือดไหลกระจุกเมือกหลุดออกมา

สัปดาห์ที่ 40-ใกล้คลอดให้ฝักท่าผ่อนคลายและการหายใจระหว่างที่มดลูกรัดตัว คิดแผนการคลอดเผื่อไว้ ทำตามที่แพทย์สั่ง คอยฟังเสียงของเจ้าตัวน้อย



วันเสาร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2554

ตารางฉีดวัคซีน

แรกเกิด-บีซีจีป้องกันวัณโรค ตับอักเสบบี
2 เดือน-ตับอักเสบบี คอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อฮิบ หยอดโปลิโอ ครั้งที่ 1
4 เดือน-ตับอักเสบบี คอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อฮิบ หยอดโปลิโอ ครั้งที่ 2
6 เดือน-ตับอักเสบบี คอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน เยื้อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อฮิบ หยอดโปลิโอ ครั้งที่ 3
9 ถึง 12เดือน-วัคซีนรวม ป้องกันโรคหัดเยอรมัน-คางทูม เข็ม1
2 ปี-ตับอักเสบบี คอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อฮิบ โปลิโอกระตุ้นครั้งที่ 1 ไข้สมองอักเสบครั้งที่ 1 และ2 โดยให้ห่องกัน 1 ถึง 2 สัปดาห์ อีสุกอีใส
2 ปีขึ้นไป-ตับอักเสบเอ 2 เข็มห่างกัน 6 เดือน ไข้สมองอักเสบครั้งที่ 3 ห่างจากครั้งแรก 1 ปี
4-6 ปี-วัคซีนรวมป้องกันโรคหัด-หัดเยอรมัน-คางทูม เข็ม2 วัคซีนป้องกันโรคไทฟอยด์

วันศุกร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2554

สิ่งที่ควรรู้ในการฉีดวัคซีน

-หลังการฉีดวัคซีน เด็กอาจมีใช้ได้ 1-2วัน ให้ดูแลโดยยาลดไข้ และเช็ดตัวเมื่อมีไข้สูงร่วมด้วย ถ้ามีปฏิกิริยาจากวัคซีนมาก เช่น มีไข้ ชัก ควรรีบพาไปพบแพทย์ และควรแจ้งให้แพทย์ทราบเพือเป็นข้อมูลในการฉีดวัคซีนครั้งต่อไป

-ถ้ามีไข้ในวันนัด ควรเลี่ยงการฉีดวัคซีนไปจนกว่าไข้จะหายดี ส่วนอาการของการเจ็บป่วย เช่น หวัด หรือไอเล็กน้อย โดยทั่วไปฉีดวัคซีนได้ ซึ่งแพทย์จะพิจารณาเป็นราย ๆ ไป

-วัคซีนหลายชนิดสามารถให้ในวันเดียวกันได้ ปฏิกิริยาจากการฉีดวัคซีน ขึ้นอยู่กับวัคซีนแต่ละชนิด และเด็กแต่ละรายไม่เหมือนกัน

-เด็กมีประวัติแพ้ไข่ หรือ Neomycin ชนิดรุ่นแรง ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ เพื่อเลือกฉีดวัคซีนอย่างระมัดระวัง

-เด็กที่มีปัญหาภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น โรคเอดส์ หรือได้รับการรักษาด้วยยาบางอย่าง ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบเพื่อหลีกเลี่ยงการใช้วัคซีนที่อาจเป็นอัตรายได้

-ในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 1 ปีแรก จะฉีดวัคซีนบริเวณต้นขา ซึ่งง่ายและปลอดภัยกว่าบริเวณอื่น ๆ

-ผลการป้องกันวัคซีนที่ฉีดครบกำหนดบางตัว อาจป้องกันได้ไม่ร้อยเปอร์เซนต์

-บางครั้งอาจมีก้อนเป็นไต บริเวณหลังฉีดวัคซีน ซึ่งส่วนใหญ่จะไม่เจ็บ และจะหายไปเองใน 2-3 เดือน เป็นผลของส่วนผสมในวัคซีนร่วมกับการฉีดไม่ลึกพอ เกิดในเด็กบางคน

วันพฤหัสบดีที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2554

สเตมเซลล์คืออะไร

การแบ่งตัวของเซล์อย่างมากมายจากเซลล์ต้นกำเนิด เพื่อเปลี่ยนแปลงเป็นอวัยวะและเนื้อเยื่อต่าง ๆ และเมือทารกเกิดมา เลือดที่ยังอยู่ในสายสะดือจะมีสเตมเซลล์ หรือต้นกำเนิดเซลล์ ซึ่งจะสามารถเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์ต่าง ๆ ได้ จึงถือว่าเป็นสิ่งที่มีค่าอย่างมาก

ประโยชน์จากการเก็บสเตมเซลล์
การเก็บสเตมเซลล์มีหลายวิธี ได้แก่ การเก็บจากสายสะดือเด็ก การเก็บจากไขกระดูก การเก็บจากกระแสโลหิต เป็นต้น สเตมเซลล์สารารถป้องกันโรคร้ายให้กับตนเองได้ด้วย การใช้สเตมเซลล์ โดยนำมาปลูกถ่ายไขกระดูก เพื่อรักษามะเร็งหรือแม้แต่โรคเบาหวาน โรคหัวใจ อาหารสมองขาดเลือด ก็สามารถดีขึ้นได้

วันพุธที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2554

พักฟื้น

หลังคลอดกลับห้องพักฟืน
หลังจากคลอดเสร็จคุณจะได้พักผ่อน และเห็นหน้าลูกน้อยถามเจ้าหน้าที่ผุ้ดูแลทุกคำที่ยังค้างอยู่ในหัวคุณ ผู้ดูแลเด็กจะฝึกคุณอาบน้ำให้ลูก รวมถึงวิธีดูแลสุขอนามัย และวิธีป้อนนมแม่แก่ลูก

พบหน้าลูกน้อย
ลูกน้อยน่าชัง คุณอาจไม่คิดว่าลูกน้อยจะม่ีเนื้อตัวแดงและผิวย่ออย่างนี้ ไม่ต้องแปลกใจที่เด็กแรกเกิดมักมีผิวที่เคลือบด้วยไขหุ้มทารก เพราะเป็นเยื่อหุ้มตามธรรมชาติ เยื้อหุ้มนี้จะหายไปภายในไม่กี่วัน กระโหลกลูกจะเบี้ยวตั้งแต่ตอนออกจากช่องคลอดแต่วันรุ่งขึ้น จะกลับมากลมสวยเป็นปกติ

ลูกน้อยตัวเล็กมาก
อาจประหลาดใจเมือเห็นลูกในห้อง ตัวเล็กเกินไปหรือหัวบิดเบี้ยว เนื่องมาจากตอนคลอด เขาจะถูกนำเข้าตุ้อบ 1 วัน อย่าตำหนิตนเองเพราะเด็กแรกเกิดต้องอยู่ในความดูแลอย่างดี เมื่อคุณตื่นขั้นมาเอง ทักทายเขาให้ลูกดมกลิ่นขนนุ่มที่คล้ายกลิ่นของคุณอาจถามผู้ดูแลว่าสามารถให้นมลูก และอาบน้ำให้เขาได้หรือไม่ เมื่อลูกผิวขาวสะอาด คุณก็ตักตวงทุกช่วงเวลาที่ไม่เคยได้อุ้มเขาในอ้อมแขนเต็มที่

แต่เขาไม่เหมือนใคร
คุณจะสังเกตเห็นพฤติกรรมลูกน้อย และอบรมสั่งสอนเขา เขานะไม่เหมือนเด็กคนไหนเลย ไม่ต้องอาศัยตำราเรียนเล่มใดเลย เพียงเชื่อมั่นในความรักของคุณที่มีต่อลูก แค่นี้ก็เป็นวิธีเลี้ยงลูกที่ดีที่สุดแล้ว

พาเจ้าตัวน้อยกลับบ้านอย่างปลอดภัย
เบาะนิรภัยสำหรับเด็ก เป็นสิ่งสำคัญที่คุณแม่ควรเตรียมไว้ในรถ สำหรับพาลูกน้อยกลับบ้านหลังคลอด ดังนั้น หากเป็นไปได้ คุณแม่ควรเตรียมซื้อเบาะนิรภัยสำหรับเด็กไว้ล่วงหน้า และควรฝึกใช้งานให้คล่องทั้งคุณพ่อและคุณแม่ และลองสำรวจรายการสิ่งของเครื่องใช้อื่น ๆ ที่จะต้องซื้อไว้ล่วงหน้าเพื่อให้แน่ในว่า คุณเตรียมทุกอย่างสำหรับลูกน้อยครบถ้วนแล้ว

เมื่อกลับถึงบ้าน
คุณแม่และคุณพ่อควรทำใจให้สบายและผ่อนคลายเข้าไว้ หากคุณแม่ของคุณมาด้วย ในช่วงนี้ควรให้คุณแม่ของคุณเป็นผุ้ดูแลคุณ และปล่อยให้งานบ้านเป็นหน้าที่ของคนอื่น ๆ หรือสามีของคุณ ญาติสนิท มิตรสหายที่พากันมาเยี่ยมอย่างไม่ขาด สายอาจทำให้คุณแม่และลูกน้อยพักผ่อนได้ไม่เต็มที่ เพราะฉะนั้นคุณอาจบอกให้ญาติ ๆ หรือเพือน ๆ บางส่วนรออีกสักระยะหนึ่ง แล้วค่อยแวะมาเยี่ยมเยือน และในระหว่างนี้ พยายามพักผ่อนและใช้เวลาสร้างความคุ้นเคยกับลูกน้อยของคุณให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

วันอังคารที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2554

การคลอดลูก

ในช่วงนั้น นางผดุงครรภ์จะมาตรวจเช็คร่างกายของคุณ ไม่ต้องรอ ขอให้อธิบายขั้นตอนได้เลย จงมั่นใจในตัวคุณ เพราะการคลอดลูกนั้น เป็นเรื่องของคุณเอง ไม่มีเทคนิคใดจะช่วยคุณ นอกจากเทคนิคทางการแพทย์ ถ้าคุณไม่อย่างบล็อกหลัง ควรแจ้งให้ทีมดูแลทราบล่วงหน้า

1.ปากช่องคลอดเปิด
ปากมดลูกปิดเนื่องจากการหดตัวของมดลูกอย่างสม่ำเสมอ ปากช่องคลอดจะค่าย ๆ แคบ ซึ่งจะเป็นผลดี จากนั้นระหว่างการหดตัวของมดลูก ปากช่องคลอดจะเริ่มขยายเพือช่วยให้ลูกน้อยออกมาได้ ปากช่องคลอดจะค่อย ๆ เปิดขึ้นเรื่อย ๆ การขยายตัวของช่องคลอดเป็นช่วงที่กินเวลานานที่สุด ประมาณ 7-8 ช.ม. กว่าลูกจะออกมา




2.ลูกน้อยค่อย ๆ โผล่หัว
เมือปากช่องคลอดเปิด 10 ช.ม. เด็กจะสามารถโผล่หัวออกมาได้ เด็กจะค่อย ๆ กลับตัวเหมือนนักยิมนาสติก ให้อยู่ในท่าที่ได้เปรียบที่สุด ช่วงนี้จะใช้เวลาประมาณครึ่งชั่วโมง จากนั้นทีมคลอดจะวางคุณบนขาหยั่ง คุณรู้สึกว่าไม่อาจทนต่อแรงดันได้ นางผดุงครรภ์จะอธิบายว่า จะจัดการกับความรู้สึกนั้นอย่างไร คุณต้องออกแรงแบ่งทุกครั้งที่มดลูกหัดตัวพร้อมกลั้นหายใจ และรวบรวมพลังไปยังท้องน้อย คุณสามารถช่วยต้วเองได้ โดยจับที่เข่า หรือขาแล้วดึงให้แน่น ลูกน้อยจะค่อย ๆ โผล่หัวออกมา ระหว่างช่วงเวลานี้ การหดตัวจะขยายตัวกว้างขั้นและรู้สึกเจ็บมายิ่งขึ้น และเป็นผลดี คุณแม่ต้องปรับตำแหน่งให้อยู่ที่ท่าที่สบายที่สุด ลองกำหนดลมหายใจเข้าออกตามที่เคยผึกตอนช่วงตั้งครรภ์ เพื่อไม่ให้เสียจังหวะ และมุ่งเป้าไปที่การหดตัวของมดลูกแต่ละครั้ง หยุดพักบ้างเพือนะได้ผ่อนคลายก่อนที่จะสู้ศึกต่อไป



3.ลูกน้อยคลอดออกมา
แพทย์ก็เริ่มเห็นผมของลูกน้อยของคุณ ตอนนี้ทุกอย่างจะเป็นไปอย่างรวดเร็ว สูตินรีแพทย์สามารถตัดสินในที่จะลงมือกรีดปากช่องคลอด ซึ่งคุณแม่จะไม่รู้สึกเจ็บเลย และทำให้ลูกผ่านออกมาได้โดยไม่ทำให้เนื้อเยื่อฉีกขาด ลูกน้อยของคุณส่งเสียงร้องครั้งแรก แพทย์จะตัดสายสะดือ วางลูกน้อยบนท้องของคุณ ลูกน้อยนลืมตา และขยับแขนน้อย ๆ คุณจะหัวเราะเคล้าน้ำตา เปี่ยมไปด้วยความสุข ความสับสน คุณได้เป็นแม่คนแล้ว

ลืมตาดูโลก
ภายใต้การเฝ้าระวังของกุมารแพทย์ ลูกน้อยจะได้รับการทดสอบทางการแพทย์เป็นครั้งแรก จากนั้นผู้ดูแลเด็กจะล้างตัว เอาผ้าห่อตัวลูกเพื่อให้ร่างกายอบอุ่น จะได้ปรับอุณหภูมิภายในร่างกายของเค้าให้เข้ากับคุณหภูมิของห้องคลอด 20 องศา ในที่สุดเทพบุตรตัวน้อยก็อยู่ในอ้อมแขนของคุณ และสามารถดูดนมคุณได้แล้ว ดีใจที่ได้พบลูกสักที

วันจันทร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554

ขั้นตอนการคลอด

สูตินรีแพทย์สามารถพิจารณาถึงความจำเป็นที่จะให้การคลอดออกมาโดยธรรมชาติ เนื่องจากมีเทคนิคที่ช่วยให้เด็กเกิดคลอดออกมาอย่างสมบูรณ์หลายวิธี และจะไม่ทำให้คุณกังวล ในทางตรงกันข้าม กลับสร้างความมั่นในให้แก่คุณ

การฉีดยาชา
วิธีที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ระหว่างการหดตัวของมดลูก คุณอาจรู้สึกอ่อนเพีย วิตกกังวลเรื่องความเจ็บปวดและเก็บความอดทนไว้ไม่ไหว นางผดุงครรภ์จะฉีดยาชาช้า ๆ เพื่อช่วยไม่ให้คุณเจ็บ และตามด้วยเซรุมที่มีส่วนผสมของยา ซึ่งช่วยให้มดลูกหดตัวสมำเสมอ

การผ่าเอาเด็กออก
ขั้นตอนนี้ แพทย์กรีดปากช่องคลอดเพื่อดึงตัวเด็กออกมา โดยวิธีทางออกฉุกเฉิน เนื่องจากเด็กมีน้ำหนักตัวมาก ถ้ากระดูกเชิงกรานแคบมาก แต่ในบางกรณี หากเด็กอยู่ในท่านั่งก็จำเป็นต้องใช้วิธีฉีดยาชาแทนหรือฉีดยาสลบ ถ้าการผ่าเด็กออก ต้องตัดสินใจกระทำโดยด่วน ระหว่างทำคลอดวิสัญญีแพทย์ จะฉีดยาสลบเร็วขึ้น และทำตามขั้นตอนต่อไป ก็เหมือนกับขั้นตอนการผ่าตัดทั่วไป ภายใน 2-3 วัน จะรู้สึกเจ็บเล็กน้อยบริเวณแผลเป็น คุณสามารถให้นมลูกตั้งแต่กลับมายังห้องพัก หลังจากนั้น 2-3 เดือน แผลเป็นแทบจะมองไม่เห็นแล้ว และไม่เป็นปัญหาสำหรับคุณ หากจะหยิบบิกินี่มาใส่อวดโฉมในช่วงวันหยุดพักผ่อนคราวหน้า

วันอาทิตย์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2554

เตรียมเก็บของไปคลอด

การเตรียมพร้อมเก็บสัมภาระไปโรงพยาบาล เมื่อเข้าสู่เดือนที่ 8 ของการตั้งครรภ์พร้อมสำหรับการคลอด เก็บสัมภาระของคุณ และลูก อย่าลืม เพื่อหลี่กเลี่ยงความวุ่นวานสับสนในการซื้อข้าวของเครื่องใช้จนวินาทีสุดท้าย แผนกคลอดจะแจ้งรายการของใช้ ของว่าที่คุณแม่คนใหม่ล่วงหน้าเช่นกัน สิ่งของที่จำเป็นทุกอย่างก็จะระบุไว้ในรายการด้วย แต่ละสถานพยาบาลจะมีวิธปฏิบัติของตนเอง

สัมภาระคุณแม่
1.เสื้อนอนบางเบา เปิดด้านหน้าได้เวลาให้นมลูก
2.รองเท้า
3.เสื้อชั้นในสำหรับตอนท้องหรือเวลาให้นมลูก
4.เครื่องใช้ส่วนตัว อาทิ สบู่ ยาสีฟัน ผ้าเช็ดตัว
5.ผ้าอนามัยที่ดูดซึมได้ดี

สัมภาระของลูก
นี่คือรายการของใช้ที่จำเป็นที่โรงพยาบาลจะแนะนำรายการของใช้แบบเดียวกันในเวลาที่คุณมาขึ้นทะเบียนคลอด
1.เสื้อผ้าฝ้าย 6 ตัว
2.ผ้าเช็ดตัว 3 ผืน
3.ผ้ากันเปื้อน 3 ผืน
4.ชุดเอี๊ยม 6 ชุด
5.ถุงมืออาบน้ำ 2 คู่
6.ชุดใส่กลับบ้าน 1 ชุด
7.ผ้าอ้อม 1 กล่อง
8.สิ่งของจำเป็นในห้องน้ำ

Followers

analy