วันจันทร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

การกระตุ้นภูมิคุ้มกันในเด็ก


ทารกที่เกิดใหม่บางคนอาจไม่ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ซึ่งประโยชน์ในการป้องกันพวกเขาจากโรคร้าย โดยทั่วไปวัคซีนเป็นสิ่งปลอดภัยสำหรับเด็ก แต่อาจมีผลข้างเคียงเล็กน้อย หรืออาจไม่มีเลย แต่ว่าการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคร้ายต่าง ๆ นั้นมีคุณค่าเกินกว่าผลข้างเคียงที่อาจจะพบได้บ้างเพียงเล็กน้อย

แรกเกิด-บีซีจีป้อกันวัณโรค ตับอักเสบบี
2เดือน-ตับอักเสบบี คอตีบ บาททะยัก ไอกรม เยื่อหุ้มสมองอักเสบ หยอดโปลิโอครั้งที่ 1
4เดือน-ตับอักเสบบี คอตีบ บาทะยัก ไอกรน เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อฮิบ หยอดโปลิโอครั้งที่ 2
6เดือน-ตับอักเสบบี คอตีบ บาททะยัก ไอกรน เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื่อฮิบ หยอดโปลิโอครั้งที่ 3
8-12 เดือน-วัคซีนรวมป้อกันโรคหัด หัดเยอรมัน คางทูมเข็ม1
2ปี-ตับอักเสบบี คอตีบ บาดทะยัก ไอกรน เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อฮิบ โปลิโอกระตุ้นครั้งที่ 1 ไข้สมองอักเสบครั้งที่ 1 และ2 โดยให้ห่อนกัน 1-2 สัปดาห์ อีสุกอีใส
2ปีขึ้นไป-ตับอักเสบเอ 2 เข็มห่างกัน 6 เดือน ไข้สมองอักเสบครั้งที่ 3 ห่างจากครั้งแรก 1 ปี
4-6ปี-วัคซีนรวมป้อกันโรคหัด หัดเยอรมัน คางทูม เข็ม2 วัคซีนป้องกันโรคไทฟอยด์

เจ้าตัวน้อย ป่วย

ภูมิคุ้มกันโรคในเด็กเล็กนั้นยังไม่แข็งแรงดีเท่ากับภูมิคุ้มกันในผู้ใหญ่ แต่ขณุที่คุณเลี่้ยงเขาด้วยน้ำนมแม่นั้น เท่ากับเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันโรคให้แก่เขาโดยธรรมชาติ แล้วเขาจะเจ็บป่วยสักระยะ แต่ความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้น เท่ากับเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้เขา

เจ้าตัวน้อยเป็นหวัด
หวัดเกิดจากเชื้้อไวรัส บางครั้งมันเป็นเรื่องยากที่จะบอกได้ว่า มันเป็นเพียงอาการคัดจมูกธรรมดา ๆ สำหรับเด็ก หวัดเปรียบเสมือน คำว่า "เปียก" มักมีเมือกหรือของเหลวเกิดขึ้นในจมูก ซึ่งอาจไหลลงไปในลำคอ ทำให้เกิดการไอนั้น ทำให้เด็กหายใจลำบาก และสร้างปัญหาในการนอน และการทางอาหารปัจจุบันนี้ยังไม่มียาชนิดที่สามารถรักษาให้หายได้ เพียงแต่ทำให้อาการหวัดดีขึ้น และหายเร็วขึ้นเท่านั้น

การให้เด็กทานยาพาราเซตามอล(สำหรับเด็ก) สามารถช่วยลดไข้และทำให้เขาสบายตัวขึ้นเพี่ยงเท่านั้น ซึ่งมันไม่ไช่ยาแก้หวัดแต่อย่างไร อาการคัดจมูก หายใจเสียงดังอาจยังคงอยู่ประมาณ 6-8 สัปดาห์ เพราะเด็กต้องใช้เวลาสักระยะในการรักษาตัวนานกว่าผู้ใหญ่ ควรพบแพทย์ถ้าเด็กไม่อยากอาหาร ตัวอ่อนปวกเปียก และมีไข้ไม่ควรนิ่งเฉย โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเด็กหายใจลำบาก และริมฝีปากเขียวคล้ำ

ที่จริงแล้วเรื่องไข้หวัดนี้เป็นอาการแสดงการติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนบน ซึ่งหมายถึงตั้งแต่จมูกไปถึงส่วนลำคอบน เช่น ทอนซิล แต่ในบางครั้งก็พบว่ามีการอักเสบของทางเดินหายใจส่วนที่อยู่ล่างลงไปจากนั้น เช่น หลอดลม และปอดร่วมด้วย

ความกังวลของคุณแม่เมื่อต้องให้ยา
ถ้าคุณแม่กังวลเกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะ เกินความจำเป็น ควรจะบอกคุณหมอให้ทราบถึงความกังวลนี้ และสอบถามถึงวิธีการดูแลเมื่อเด็กเป็นหวัด และถามถึงภาวะการเจ็บป่วยที่ลูกเป็นอยู่ในขณะนั้น ว่าเป้นหวัดธรรมดาหรือมีอาการแทรกซ้อน ซึ่งการรักษาให้ยาจะต่างกัน แม้ไข้หวัดธรรมดาน่าจะหายเองได้ แต่การพักผ่อนที่เพียงพอ และการดูแลเอาใจใส่ใกล้ขิดจะมีส่วนสำคัญในการผ่อนหนักเป็นเบา และทำให้หายได้เร็กขึ้นโดยไม่เกิดโรคแทรกซ้อน

เมื่อเจ้าตัวน้อยมีไข้
-ให้เด็กได้รับปริมาณยาที่เหมาะสม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอายุ (พาราเซตามอบสำหรับเด็กแรกเกิด)
-ขณะที่รอยาออกฤทธิ์ ให้ถอดเสื้อของเด็กออกจนถึงผ้ออ้อมที่เด็กใส่ แล้วให้นอนใต้ผ้าห่มบาง ๆ ในห้อที่มีการกาศเญ้นปกติ เพียงพอแล้ว
-หลังจากนั้น 30 นาที ถ้ายังตัวร้อนมาก ให้นำฟองน้ำชุดน้ำอุ่น(ไม่ใช่้น้ำเย็น) เช็ด อย่าให้เด็กมีอาการสั่นเทา เพราะจะทำให้ร่างกายของเด็กมีอุณหภูมิสูงขึ้น
-ถ้าคุณรู้สึกว่ากังวลใจ และไม่สามารถหาสาเหตุของอาการไข้ได้ ให้รีบนำตัวเด็กไปพบแพทย์

ท้องผูก
เด็กที่ได้รับน้ำนมจากแม่ มักไม่ค่อยมีอาการท้องผุก แต่ในช่องอายุระหว่าง 6 สัปดาห์ ถึง 3 เดือน เด็กจะถ่ายอุจจาระลดลงมาก ทำให้ผู้เป็นแม่เกิดความกังวลและคิดว่าเด็กท้องผูก อาการท้องผูก หมายถึงการถ่ายลำบาก อุจจาระแข็ง และลำไส้ทำงานน้อย เมื่อเด็กได้รับน้ำนมสำเร็จจูป หรืออาการอื่น ๆ การเคลื่อนไหวของลำไส้ที่เปลี่ยนไป อาจทำให้ท้องผูกได้ ควรตรวจสอบสูตรของนมที่เด็กทาน รวมไปถึงวิธีการชงนม ถ้าเด็กยังคง้องผูกให้รับประทานน้ำผลไม้เพืิ่มเติม แต่ถ้ายังกาการไม่ดีขึ้นควรปรึกษาแพทย์

ท้องอืด
ท้องอืดมักเป็นปัญหาที่เกิดในเด็กทากร คือ มีลมหรือความดันในช่องท้องมากเกินไป ทำให้ระบบย่อยอาหารไม่ดีเท่าที่ควร ซึ่งอาจเกิดจากการดูดขวดนมเปล่า หรือกันนมผสม หรือบางคร้ังคุณแม่อาจจะไม่ทราบสาเหตุว่าทำไมลูกถึงร้องไห้โยเยไม่หยุด จนคุณพ่อคุณแม่เกิดความวิตกกังวลกับอาการร้องไห้งอแง นั้นอาจเป็นอาการที่ลูกจ้อยของคุณมีอาการท้องอืดได้ เด็กบางคนถ้าได้เรอหรือผายลม ก็ทำให้อาการท้องอืดหายไปเอง แต่ถ้าไท่มีการเรอหรือผายลมแล้ว คุณปม่อาจช่วยลูกน้อยอีกแรงด้วยการอุ้มลูกน้อยพาดบ่า เดินไปมา พร้อมกับลูบหลังเบา ๆ เพื่อเป็นการช่วยให้เด็กเรอออกมาได้เองตามธรรมชาติ หรืออาจรับประทางยาแก้ท้ออืดอย่างพอเหมาะตามคำแนะนำบนฉลากยาข้างขวดอย่างเคร่งครัด

อาการท้ออืดในเด็กส่วนใหญ่เมื่อโตขึ้นมักจะหายไปเอง โดยไม่ต้องใช้ยาอย่างต่อเนื่อง แต่หากลูกน้อยมีอาการท้องอืดและปวดท้องอย่างรุนแรงร่วมด้วยละก็ คุณพ่อคุณแม่ควรพาไปพบแพทย์โดยเร็ว เพราะอาจมีอาการของโรคอื่น ๆ แทรกซ้อน อย่านิ่งดูดาย สุขภาพของลูกน้อยย่อมมาพร้อมกับความรัก ควาาเข้าใจ และความอบอุ่นในครอบครัว

แก้ท้ออืดแบบง่าย ๆ
นวดด้วยน้ำมันหอมผสมกานพลู นวดที่ท้องเด็กเบา ๆ ตามเข็มนาฬิกา การใช้ยาสอด วิธีนี้คุพ่อคุณแม่ควรปรึกษาแพทย์ก่อน การดึืมน้ำลูกพรุนในแต่ละมืออาหาร จะช่วยให้เด็กรู้สึกสบายท้อง ลดการท้องอืด


วันอาทิตย์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

มื้ออาหารที่เหมาะสมกับวัย

อาหารนั้นไม่ได้มีความสำคัญกับเจ้าตัวน้อยในแง่ของการให้พลังงาน และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรออย่างเดียว แต่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการทุกด้าน ทั้งเรื่องของกิจกรรม ความสุข ทุกข์ จนถึงการเข้าสังคม อาหารจึงเหมือนจุดเริ่มต้นแห่งการเรียนรู้ในขั้นแรก ๆ ของเจ้าตัวน้อย



เจ้าตัวน้อยวัย 6 เดือน
คุณแม่ควรเพิ่มเนื้อสัตว์สับละเอียด รวมทั้งไข่ไก่ และข้าวบดที่หยาบขึ้นเล็กน้อย ประมาณ 1 ถ้วย

เจ้าตัวต้อยวัย 7 เดือน
เจ้าตัวน้อยสามารถกินผลไม้ได้บ้างแล้ว คุณแม่ควรเลือกผลไม้ที่ย่อยง่าย เช่น กล้วย มะละกอสุก หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ เพือให้เด็กได้เริ่มฝึกเคี้ยว คุณแม่ต้องคอยดูอยู่ใกล้ ๆ เพราะเด็กอาจสำลักอาหารได้

เจ้าตัวน้อย 8-9 เดือน
ฟันของเจ้าตัวน้อยเริ่มขึ้นประมาณ 3-4 ซี่ จึ่งสามารถกินอาหาาเนืือหยาบกว่าเดิมได้แล้ว จอกจากนี้คุณแม่ยังสามารถให้อาหารนี้แทนนมได้ 2 มือ

เจ้าตัวน้อยวัย 12 เดือน
จากนี้อาหารเสริมจะกลายเป็นอาหารมือหลัง 3 มื้อ ส่วนนมแม่วันละ 3-4 มือ ถือว่าเป็นอาหารเสริมแทน ไม่ควรให้เด็กทานน้ำส้มคั้น เพราะถ้าเตรียมไม่สะอาดเด็กอาจเป็นท้องร่วงได้ ที่สำคัญเด็กวัย 4-6 เดือนได้รับวิตามินจากนมแม่เพียงพออยู่แล้ว


เจ้าตัวน้อยวัย 1-3 ปี
คุณแม่หัดให้เจ้าตัวน้อยกินข้าวสวยหุงนิ่ม ๆ เหมือนผู้ใหญ่ได้ แล้วอาหารของเด็กวัยนี้ควรเป็นรสชาติอ่อน ไม่ควรปรุงรส และไม่ควรให้อาหารว่างระหว่างมื้อ เพราะจะทำให้เด็กทานอาหารลดลง

การแพ้อาหาร
การแพ้อาหารอย่างรุนแรง จัดว่าเป็นสิ่งผิกปกติ มักเกิดภายหลังที่เด็กทางอาหารไปไม่นาน มีอาการอาเจียน ท้องเสีย หรือปากบวม บางครั้งหน้าอาจบวมคล้ายจะเป็นลม หรือหายใจลำบาก ควรรีบนำตัวเด็กส่งโรงพยาบาล อาหารส่วนใหญ่ที่ำให้เกิดอาการเหล้านี้มักเป็นอาหารจำพวก ถั่ว ไข่ นม ข้าวสาลี เนื้อปลา และน้ำนมถั่วเหลือง ถ้าอาการไม่รุ่นแรงนัก อาจมีผื่นขึ้นผิวหนัง หายใจขัดหรือน้ำมุกไหล ควรให้ทานอาหารที่มีกากใยสูงในบางโอกาส เริ่มให้เด็กทานซุปข้นก่อนและค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นอาหารแข็ง เพื่อให้เด็กสามารถตอบสนองได้ดี ถ้าบุคคลภายในครอบครัวมีประวัติการแพ้อาหารอย่างรุนแรง ควรรอให้เด็กมีอายุ 6 เดือนก่อน จึงค่อยให้เด็กเริ่มทางอาหารแข็ง อาหารที่มีส่วนผสมของนมวัว และรอจนกระทั่งเด็กอายุ 3 ปีก่อน จึ่งให้ทานอาหารที่ผลิตจากถึ่ว ที่สำคัญไม่ควรให้เขาทางถั่วทั้งเม็ด จนกระทั่งอายุได้ 6 ปี

การล้างมือ

สุขภาพและพัฒนาการของลูกน้อย
สุขภาพและพัฒนาการของลูกน้อย คือสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับคุณพ่อ คุณแม่ ซึ่งในข้อมูลและวิธีการอาจจะดูยุ่งยากและมากมายน่าตกใจ แต่ในความเป็นจริงแล้ว การดูแลเจ้าตัวน้อยสามารถปฏิบัติโดยการเริ่มต้นง่าย ๆ จากตัวคุณ อาทิ เช่น หมั่นล้างมือ ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคบนพื้นผิวที่มีการสัมผัสบ่อย เพราะจะสามารถลดการแพร่กระจายของเชื้อโรคและอาการเจ็บป่วยที่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากอาการภูมิแพ้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อคุณจะได้ใช้เวลากับคนสำคัญที่สุดของคุณ ในช่วงเวลาที่แสนพิเศษของครอบครัว

การล้างมือ
คือ หนึ่งในวิธีการที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้้อโรค และในขณะเดียวกันก็ช่วยป้องกันการรับเชื้อโรคมาสู่ตัวคุณ และลูกน้อยของคุณ เพราะฉะนัั้นคุณควรหมั่นล้างมือด้วยน้ำสะอาดและสบู่เป็นประจำและเช็ดมือให้แห้ง

คุณควรล้างมือ
-ก่อนที่จุสัมผัสกับลูกน้อย
-ก่อนและหลังการเตรียมอาหาร ป้อนนม หรือป้อนยาให้แก้ลูกน้อยของคุณ
-ทุกครั้งหลังการใช้ห้องน้ำ และเปลี่ยนผ้าอ้อมของเจ้าตัวน้อย
-หลังการไอ จาม หรือ สัมผัสบริเวณจมูก ไม่ว่าจะเป็นของตนเองหรือของผู้อื่น
-หลังจากการสัมผัสสัตว์เลี่ยง
-หรือเมื่อไหร่ที่คุณรู้สึกว่ามือสกปรก

หากในกรณีที่ไม่สะดวกในการล้ามือด้วยน้ำสะอาดและสบู่ ก็สามารถใช้ผลิตภัณฑ์เจลล้างมืออนามัยแบบไม่ต้องใช้น้ำแทนได้ชั่วคราวเพื่อรักษาสุขอนามัยของมือคุณ

วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

การแก้ปัญหาจากการให้นมเด็ก

เจ็บหัวนม
การเจ็บที่หัวนมหรือหัวนมแตกนั้น เป็นปัญหาใหญ่เมื่่อเด็กโตขึ้น คุณจำเป็นต้องปรับตำแหน่งเพื่อให้เขาได้รับน้ำนมได้อย่างเหมาะสม หากยังมีอาการเจ็บที่หัวนมควรขอคำปรึกษาจากแพทย์ เพือให้เข้าใจถึงวิธีการให้น้ำนมที่ถูกต้องเมื่อเด็กมีฟันซี่แรก เด็กอาจพยายามกัดหรือเคี้ยวให้อ้าปากของเด็กอย่างช้า ๆ อย่างเบามือ และพูดว่า "ไม่" ไม่นานเด็กจะเข้าใจความหมายของมัน

การดูดนมอย่างตะกละ
มักเกิดขึ้นตอนที่เด็กได้รับน้ำนมในครั้งแรก หรือภายหลังจากที่เด็กนอนหลับนานกว่าปกติ ซึ่งทำให้ผู้เป็นแม่รู้สึกแสบ หรือเจ็บที่หัวนม เพื่อเป็นการป้องกัน ควรให้เด็กได้รับน้ำนมจากอกเพียงข้างเดียวก่อน จากนั้นค่อยให้เด็กได้รับน้ำนมจากอกอีกข้างหนึ่ง แต่ถ้าเป็นเด็กที่นอนมาก จำเป็นต้องเตือนเขาเมื่อถึงเวลาที่เขาควรได้ทางนมแล้ว ให้นำผ้าที่ห่อตัวเด็กออก ลูบแก้มและขากรรไกรเขาเบา ๆ จะทำให้เขาตื่นขึ้น

เด็กได้รับน้ำนมเพียงพอหรือยัง
ผู้หญิงหลายคนมีความกังวลต่อความสามารถของร่างการในการสร้างน้ำนมให้แก่เด็ก เพราะไม่มีใครสามามารถสังเกตุได้จากสิ่งต่าง ๆ ดังนี้
-ในหนึ่งวันเด็กควรได้รับน้ำนม 6-8 ครัั้ง/วัน
-ควรขับถ่ายของเหลวหรือ ควรเปลี่ยนผ้าอ้อมสำเร็จรูป
-ประมาณ 6 ผืน/วัน
-หน้าอกของคุณนิ่มลงภายหลัง จากการให้น้ำนม
-เด็กควรมีน้ำหนักตัวที่เหมาะสม
-บางครั้งอาจมีการแหวะหรือเรอ ภายหลังจากการได้รับน้ำนม
-เด็กจะรู้สึกสดชื่่นขึ้นภายหลังจากการได้รับน้ำนม

การให้นมแม่

เมื่อคุณแม่ให้นมเจ้าตัวน้อยนับเป็นประสบการณ์พิเศษ ร่างน้อย ๆ ที่ถูกโอบอุ้มในอ้อมแขนรอรับน้ำนมจากแม่ ชวยเสริมสร้างความผุกพันของแม่กับลูกให้แนบชิดยิ่งขึ้น

1.นังบนเก้าอี้หรือเตียงนอนที่คุณแม่สามารถพิงหลังได้สบาย ๆ
2.อุ้มเจ้าตัวน้อยอยู่ในอ้อมแขนให้ศรีษะเด็กอยู่ในอ้อมแขนให้ศรีษะเด็กอยู่ช่วงเว้าของข้อศอก แขนประคองลำตัวเด็ก มีอประคอบอยู่ที่สะโพกหรือก้นเด็ก
3.หน้าเด็กจะหันเข้าหาเต้านมคุณแม่โดยอัตโนมัติ มืออีกข้างประคองเต้านมข้าที่เด็กดูดเพื่อให้หัวนมเข้าปากเด็ก
4.เมื่อเจ้าตัวน้อยอิ่มแล้วจะคลายปากออกจากเต้านมเอง ไม่ควรดึงหัวนมออกจากปากเด็กให้ลอดนิ้วก้อยเข้าตรงมุมปากเด็ก กดเต้านมเล็กน้อย เมื่อเด็กคลายออกจึงดึงหัวนมออก
1.ให้นอนตะแคงด้านซ้าย หรือด้านขวาตามที่คุณแม่ถนัดเมื่อต้องการให้นม
2.นอนหนุนหมอนหนึงใบ อีกใบให้วางไว้ข้างตัวคุณ
3.ให้ลูกน้อยหันหน้าเข้าหาคุณ ให้ศรีษะเด็กอยู่ในระดับเดียวกับเต้านม
4.จับเด็กให้อยู่ในท่าพร้อมสำหรับการดูดนมจากเต้า

วันจันทร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

นมแม่ เสริมสร้างเจ้าตัวน้อย

มหัศจรรย์น้ำจากอกแม่
การเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่จัดว่าเป็นสิ่งที่ดีที่สุด เพราะน้ำนมในอกแม่จัดว่าเป็นแหล่งของสารอาหารที่มีความอุดมสมบูรณ์สำหรับเด็ก และยังดีสำหรับคุณผู้เป็นแม่เพราะสามารถช่วยให้มดลูกเข้าที่ได้เร็วขึ้น รวมทั้งยังช่วยให้น้ำหนักคุณแม่ลดลงได้เร็วขึ้นอีกด้วย น้ำนมแม่สามารถย่อยสลายได้ง่าย ทั้งยังสามารถป้องกันการติดเชื้อต่าง ๆ ในเด็กไม่ว่าจะเป็นอาการท้องเสีย ปวดหู หรือเป็นไข้ นอกจากนี้ WHO หรือ World Health Organization ยังให้คำแนะนำว่าควะให้เด็กได้รับน้ำนมจากผู้เป็นแม่จนกระทั่งเขามีอายุอย่างน้อย 1 ปี
ขั้นตอนในการใหน้ำนมเด็ก
1.นั่งบนเก้าอี้ที่มีพนัก ใช้หมอนรองที่แผ่นหลัง เท้าวางราบบนพื้น ยกตัวเด็กเข้าหาอก จัดตำแหน่งของหัวนมให้อยู่ในแนวเดียวกับจมูกของเขา เอียงศรีษะ และปากของเด็ก และหัวนมอยู่ในระดับเดียวกัน

2.เด็กส่วนใหญ่มีสัญชาติญาณที่ดีในการค้นหาเมื่อหิว แต่ถ้าเด็กช้ามาก ให้ใช้้หัวนมแตะที่ข้างแก้ม เขาจะหันมาสัมผัสกับมัน แต่เมื่อเขาหาหัวนมเจอ

3.เมื่อเขาหามันพบ น้ำนมจะถูกกระตุ้นให้ไหลออกมา แต่ต้องแน่ใจว่าเมื่่อเด็กได้รับน้ำนมเพียงพอแล้ว หัวนมของคุณจะไม่แตกหรือเจ็บ

Followers

analy