อาหารนั้นไม่ได้มีความสำคัญกับเจ้าตัวน้อยในแง่ของการให้พลังงาน และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรออย่างเดียว แต่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการทุกด้าน ทั้งเรื่องของกิจกรรม ความสุข ทุกข์ จนถึงการเข้าสังคม อาหารจึงเหมือนจุดเริ่มต้นแห่งการเรียนรู้ในขั้นแรก ๆ ของเจ้าตัวน้อย
เจ้าตัวน้อยวัย 6 เดือน
คุณแม่ควรเพิ่มเนื้อสัตว์สับละเอียด รวมทั้งไข่ไก่ และข้าวบดที่หยาบขึ้นเล็กน้อย ประมาณ 1 ถ้วย
เจ้าตัวต้อยวัย 7 เดือน
เจ้าตัวน้อยสามารถกินผลไม้ได้บ้างแล้ว คุณแม่ควรเลือกผลไม้ที่ย่อยง่าย เช่น กล้วย มะละกอสุก หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ เพือให้เด็กได้เริ่มฝึกเคี้ยว คุณแม่ต้องคอยดูอยู่ใกล้ ๆ เพราะเด็กอาจสำลักอาหารได้
เจ้าตัวน้อย 8-9 เดือน
ฟันของเจ้าตัวน้อยเริ่มขึ้นประมาณ 3-4 ซี่ จึ่งสามารถกินอาหาาเนืือหยาบกว่าเดิมได้แล้ว จอกจากนี้คุณแม่ยังสามารถให้อาหารนี้แทนนมได้ 2 มือ
เจ้าตัวน้อยวัย 12 เดือน
จากนี้อาหารเสริมจะกลายเป็นอาหารมือหลัง 3 มื้อ ส่วนนมแม่วันละ 3-4 มือ ถือว่าเป็นอาหารเสริมแทน ไม่ควรให้เด็กทานน้ำส้มคั้น เพราะถ้าเตรียมไม่สะอาดเด็กอาจเป็นท้องร่วงได้ ที่สำคัญเด็กวัย 4-6 เดือนได้รับวิตามินจากนมแม่เพียงพออยู่แล้ว
เจ้าตัวน้อยวัย 1-3 ปี
คุณแม่หัดให้เจ้าตัวน้อยกินข้าวสวยหุงนิ่ม ๆ เหมือนผู้ใหญ่ได้ แล้วอาหารของเด็กวัยนี้ควรเป็นรสชาติอ่อน ไม่ควรปรุงรส และไม่ควรให้อาหารว่างระหว่างมื้อ เพราะจะทำให้เด็กทานอาหารลดลง
การแพ้อาหาร
การแพ้อาหารอย่างรุนแรง จัดว่าเป็นสิ่งผิกปกติ มักเกิดภายหลังที่เด็กทางอาหารไปไม่นาน มีอาการอาเจียน ท้องเสีย หรือปากบวม บางครั้งหน้าอาจบวมคล้ายจะเป็นลม หรือหายใจลำบาก ควรรีบนำตัวเด็กส่งโรงพยาบาล อาหารส่วนใหญ่ที่ำให้เกิดอาการเหล้านี้มักเป็นอาหารจำพวก ถั่ว ไข่ นม ข้าวสาลี เนื้อปลา และน้ำนมถั่วเหลือง ถ้าอาการไม่รุ่นแรงนัก อาจมีผื่นขึ้นผิวหนัง หายใจขัดหรือน้ำมุกไหล ควรให้ทานอาหารที่มีกากใยสูงในบางโอกาส เริ่มให้เด็กทานซุปข้นก่อนและค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นอาหารแข็ง เพื่อให้เด็กสามารถตอบสนองได้ดี ถ้าบุคคลภายในครอบครัวมีประวัติการแพ้อาหารอย่างรุนแรง ควรรอให้เด็กมีอายุ 6 เดือนก่อน จึงค่อยให้เด็กเริ่มทางอาหารแข็ง อาหารที่มีส่วนผสมของนมวัว และรอจนกระทั่งเด็กอายุ 3 ปีก่อน จึ่งให้ทานอาหารที่ผลิตจากถึ่ว ที่สำคัญไม่ควรให้เขาทางถั่วทั้งเม็ด จนกระทั่งอายุได้ 6 ปี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น