ช่วงแรกของการตั้งครรภ์
สัปดาห์ที่ 1-เตรียมตัวที่จะมีลูก ควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงอย่างน้อย 2-3 เดือนก่อนตั้งครรภ์
สัปดาห์ที่ 2-ช่วงตกใข่ ฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นตัวเร่งให้ไข่สุก ร่างกายผลิตฮอร์โมนเจสเตอโรนเข้ากระแสเลือด ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกหนาขึ้น รอเวลาตัวอ่อนมาฝังตัว
สัปดาห์ที่ 3-ช่วงฝังตัว หลังปฏิสนธิไข่ที่ผสมแล้ว จะไปฝังตัวในผนังมดลูก อาจมีเลือดออกทางช่องคลอดในปริมาณเล็กน้อย อย่าตกใจ กระแสเลือดทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกหนาขึ้น รอเวลาตัวอ่อนมาฝังตัว
สัปดาห์ที่ 4-ประจำเดือนขาด หลังฝังตัวในผนังมดลูก ตัวอ่อนจะหลั่งฮอร์โมนตั้งครรภ์เข้าไปในกระแสแลือดของคุณแม่ จะมีอาการวิงเวียน พะอืดพะอม เป็นลมหน้ามืด พักผ่อนให้มาก หลีกเลี่ยงการเดินทางไกล ธาตุเหล็กจำเป็นมากสำหรับคุณแม่และเด็ก
สัปดาห์ที่ 5-ได้เวลาฝากท้อง อาการต่าง ๆ จะทำให้คุณเร่มรู้ตัวว่ามีเจ้าตัวน้อยในท้องคุณ ควรไปฝากครรภ์ คุณหมอจะนับอายุครรภ์ นับจากวันแรกที่ประจำเดือนขาด พร้อมกำหนดวันคลอด
สัปดาห์ที 6-แพ้ท้อง ตัวอ่อนเริ่มมีการเจริญเติบโตอย่างเต็มที่ อาการแพ้ต่าง ๆ จะเกิดขึ้นในช่วงนี้ ส่วนลูกน้อยตัวยาว 0.5 ซ.ม. เริ่มสร้างอวัยวะต่าง ๆ มีระบบย่อยอาหาร และหัวใจ
สัปดาห์ที่ 7-ครรภ์สมบูรณ์ ผนังมดลูกจะอ่อนตัวลงเพื่อให้ตัวอ่อนฝังตัวลงไปอย่างเหนียวแน่น เยื่อที่ปากมดลูกจะหนาขึ้น ก่อตัวเป็นก้อนลิ่ม ปิดท่อมดลูก ป้องกันเชื้อโรคเข้าไป ควรดูแลช่องคลอดได้ดี
สัปดาห์ที่ 8-ไปพบคุณหมอเพื่อตรวจความปลอดภัยของครรภ์ แพ้ท้อง ส่วนลูกน้อยตัวยาว 2 เซนติเมตร เริ่มเห็นรุปชัดเจน
สัปดาห์ที่ 9-ผิวหนังเริ่มตึงบวม เต้านมขยาย คัดหน้าอก ต้องหาชุดชั้นในที่เหมาะกับสรีระที่เปลี่ยนแปลง นอกจากนี้จะมีของเหลวไหลออกทางช่องคลอด ไม่ต้องตกใจ
สัปดาห์ที่ 10-ต่อมไทรอยด์บวม ฮอร์โมนจากต่อมไทรอย์มีผลต่อพัฒนาการหลังคลอดในเรื่องของความคิด พฤติกรรม และการเคลื่อนไหว
สัปดาห์ที่ 11-น้ำหนักควรเพิ่มขึ้นสัปดาห์ละ 0.5-1 ก.ก. ในช่องเดือนที่ 4-8 ของการตั้งครรภ์ หลังจากนี้น้ำหนักของคุณจะคงที่ไปจนคลอด
สัปดาห์ที่ 12-พ้นช่วงเสี่ยงต่อการแท้ง เจ้าตัวน้อยมีอวัยวะทุกอย่างครบถ้วนแล้ว ความยาวศรีษะถึงสะโพก 9 ซ.ม.สามารถรับรู้ตอบสนองสิ่งเร้าภายนอกได้บ้าง
สัปดาห์ที่ 13-อาการแพ้ท้องค่อย ๆ หายไป ความรู้สึกอัดอัดจะกลับมาใหม่ เพราะขนาดของเจ้าตัวน้อยในท้องเริ่มโตขึ้น ควรทานอาหารที่มีประโยชน์
ช่วงที่ 2 ของการตั้งครรภ์
สัปดาห์ที่ 14-ฮอร์โมนสูงขึ้น ทำให้คุณมีอารมณ์ทางเพศสูงกว่าปกติ การมีบทรักจะร้องอยู่ในท่าที่ปลอดภัย
สัปดาห์ที่ 15-ท้องใหญ่ขึ้น ควรหาชุดคลุมท้องมาใส่ เลือกแบบที่ไปร่งสบาย เหมาะกับสรีระของคนตั้งครรภ์
สัปดาห์ที่ 16-อัลตราซาวด์ ไปพบคุณหมอเพื่อตรวจความสมบูรณ์ของเด็ก เช่นตรวจเลือด อาการดาวน์หรือปัญญาอ่อน ส่วนลูกน้อยหนัก 1 ขีดกว่า ๆ อวัยวะสมบูรณ์ขึ้นเรื่อย ๆ สามารถมองเห็นอวัยวะเพศได้ชัดเจน หายใจได้แล้ว
สัปดาห์ที่ 17-หัวใจคุณทำงานหนักขึ้น สอดคล้องกับเจ้าตัวน้อย อาจมีเลือดกำเดาไหล เหงือกบวม ควรไปพบแพทย์ เช็คสุขภาพฟันเสมอ
สัปดาห์ที่ 18-ขนาดมดลูกใหญ่มากขึ้น จะไปกดทับบริเวณลำไส้ ทำให้ระบบย่อยอาหารข้าลง อาจทำให้คุณมีอาการริดสีดวงทวารขึ้นได้ ควรรับประทานผักผลไม้ หรืออาหารที่มีไฟเบอร์สูง
สัปดาห์ที่ 19-นำหนักคุณจะเพิ่มขึ้นเฉพาะที่ เช่น ก้น สะโพก และท้อง มดลูกที่ใหญ่และน้ำหนักตัว มีผลต่อการเคลื่อนไหวร่างกาย ควรหาหมอนหนุนที่ขา ไม่ควรก้มเก็บของ
สัปดาห์ที่ 20-มดลูกขยายมากขึ้น ทำให้เบียดช่องปอด ทำให้หายใจขัด เมื่อมีอาการให้นั่งพัก หายใจช้า ๆ ส่วนลูกน้อยหนัก 3 ขีด มีขนอ่อนปกคลุมตามตัว มีเส้นผมบาง ๆ ดิ้นได้แล้วนะ
สัปดาห์ที่ 21-คุณแม่จะมีอาการโลหิตจาง เป็นเรื่องปกติ แต่ควรไปพบแพทย์ตรวจดูว่าร่างกายได้รับธาตุเหล้็กเพียงพอที่จะไม่ทำให้เกิดภาวะโลหิตจาง จนเข้าขั้นอันตราย
สัปดาห์ที่ 22-ลูบคลำชิ้นส่วนต่าง ๆ ในร่างกายของเจ้าตัวน้อย พร้อมกับพูดคุย ส่วนลูกน้อยจะใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้ การยืดหยุ่นแขนขา การเคลื่อนไหวระหว่างส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
สัปดาห์ที่ 23-มดลูกหดตัว ไม่มีอาการเจ็บ เป็นการเตรียมร่างกายสำหรับการเจ็บท้องคลอด
สัปดาห์ที่ 24-มีอาการปวดหลัง ปัญหากระเพาะปัสสาวะ ปวดเท้า ควรเลือกรองเท้าที่สวมใส่สบาย แลุควรบริหารเท้าด้วย ส่วนลูกน้อย ตัวกับศรีษะมีขนาดสมดุลกัน หลับตา ลืมตาได้แล้ว มีลายมือ
สัปดาห์ที่ 25-ไปพบแพทย์ ตรวจเลือดปัสสาวะเพื่อหาอาการครรภ์เป็นพิษ
สัปดาห์ที่ 26-ครรภ์โตขึ้น จะมีอาการไม่สบาย เช่น ตะคริวที่ขา ปวดศรีษะ ปวดรอบ ๆ อุ้งเชิงกราน ส่วนลูกน้อยจะเคลื่อนไหวมากขึ้น จำนวนครั้งที่ดิ้นมาก สามารถบอกได้ว่ามีสุขภาพดี
ช่วงที่ 3 ของการตั้งครรภ์
สัปดาห์ที่ 27-เต้านมมีน้ำสีเหลืองข้น ซึ่งเป็นน้ำนมแรกที่ไหลออกมา ควรใส่แผ่นซับน้ำนมไว้ป้องกันการเปื้อน
สัปดาห์ที่ 28-คุณหมอตรวจสอบภูมิต้านทานในร่างกายคุณ พยายามทานแคลเซียม เพื่อช่วยการเติมโตของเจ้าตัวน้อย ส่วนลูกน้อยหนัก 1 ก.ก. มีไขมันเกาะตามตัว ระบบประสาท กล้ามเนื้อ ประสาททั้ง 5 พัฒนาสมบูรณ์
สัปดาห์ที่ 29-ปรึกษาแพทย์ถึงวิธีการคลอดรายละเอียดเกี่ยวกับการคลอด
สัปดาห์ที่ 30-มีอาการปวดหลัง เอ็นยึดและกล้ามเนื้อบริเวณหลังคลายตัว
สัปดาห์ที่ 31-มีน้ำหนักเฉลี่ย 2-6-9.1 ก.ก. ถ้ามากหรือเกินควรกินอาหารที่มีประโยชน์ แต่ไม่ควรลดน้ำหนัก
สัปดาห์ที่ 32-ศรีษะเด็กจะเคลื่อนลง มีลำตัวใหญ่ขึ้น ทำให้รู้สึกเจ็บชายโครง เกิดเส้นเลือดขอด ไม่ควรสวมแหวนและไม่สวมเสื้อผ้าคับ ส่วนลูกน้อยตัวยาว 30 ซ.ม. หนักเกือบ 2 ก.ก. กระดูกแข็งแรง อวัยวะครบถ้วน
สัปดาห์ที่ 33-ภาวะโลหิดจางลดลง ปัสสาวะบ่อยขึ้น ควรเลิกทานธาตุเหล็กตั้งแต่ตอนนี้ เพราะธาตุเหล็กสูงในร่างกายทำให้มีปัญหาท้องผูก
สัปดาห์ที่ 34-รู้สึกเกร็งที่ยอดมดลูก หลายคนมักเข้าใจว่าเป็นการเจ็บคลอดจริง หากมีของเหลวไหลออกมาต้องไปพบแพทย์ทันที ถ้ามีแนวโน้มคลอดก่อนกำหนด แพทย์จะทำการเจาะตรวจน้ำคร่ำ เพือดูการเจริญเติบโตของปอดเด็ก
สัปดาห์ที่ 35-จะรู้สึกคลื่นไส้ วิงเวียน ควรพักมาก ๆ เตรียมซื้อของใช้ไว้เนิ่น ๆ เป็นการลดความวุ่นวายในวันคลอด
สัปดาห์ที่ 36-ยอดมดลูกขยับขึ้นสูง ทำให้หายใจขัดมากขึ้น เจ็บชายโครง ต้องไปพบแพทย์ทุกสัปดาห์ เตรียมแผนการคลอด ส่วนลูกน้อยหมุนศรีษะไปทางช่องคลอด
สัปดาห์ที่ 37-ศรีษะเคลื่อนมาที่อุ้งเชิงกรานทำให้รู้สึกโล่งที่ชายโครง หายใจสะดวก ทานอาหารคล่องคอ ปัสสาวะบ่อยขึ้น ส่วนลูกน้อยเท้าแตะที่ปลายกระดูกสันอก
สัปดาห์ที่ 38-มีการเจ็บเตือนก่อน แต่การเจ็บครรภ์เตือนและจริง จะแรงประมาณเดียวกัน แต่การหดรัดตัวไม่เป็นจังหวะสม่ำเสมอ และจะหายเมื่อคุณเคลื่อนไหว หากไม่แน่ใจ สามารถไปพบแพทย์ก่อนได้
สัปดาห์ที 39-การหดรัดตัวของมุดลุกแรงขึ้น เป็นจังหวะสม่ำเสมอ เป็นสัญญาณการคลอด สัญญาณอื่น ๆ ถุงน้ำคร่ำแตก ของเหลวไหลออกมา เลือดไหลกระจุกเมือกหลุดออกมา
สัปดาห์ที่ 40-ใกล้คลอดให้ฝักท่าผ่อนคลายและการหายใจระหว่างที่มดลูกรัดตัว คิดแผนการคลอดเผื่อไว้ ทำตามที่แพทย์สั่ง คอยฟังเสียงของเจ้าตัวน้อย